วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

ลูกไม้ชวนชมดอกซ้อน

เป็นลูกไม้อีกต้นหนึ่งเป็นต้นแรกที่บานสำหรัีบไม้ชุดนี้ครับ ต้นยังเล็กมากแต่ออกดอกแล้วพร้อมกับบานให้เห็นว่ามันซ้อนสองชั้นสีชมพูอ่อนๆ ครับ










ติชม แนะนำได้ครับ

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

เปลี่ยนดินและกระถางให้ชวนชมหินซ้อนเจ้น้อย

ไม้ต้นนี้น้องแดงบอกว่ารับมาจากเจ้น้อย ครับ ถ้าจำไม่ผิดผมเคยเอามาลงให้ชมไปแล้วครั้งหนึ่งเหมือนกันครับ
ด้านบนก่อนเปลี่ยนกระถ่างครับ






ขอคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับน้องแดงด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

เปลี่ยนกระถาง และจัดรากชวนชมเพชรบ้านนา

ไม้ชุดนี้เป็นเพชรบ้านของน้องแดง ซึ่งผมเคยเอามาให้ชมไปแล้วครั้งหนึ่งครับ ตอนนี้น้องเค้าจัดการเปลี่ยนดินและกระถางเรียบร้อยแล้ว เชิญชมได้เลนครับ

เต็ม ๆ ต้นครับ

ซูมให้ดูระบบราก

ลงกระถางพร้อมดัดและดึงด้วยเชือกฟาง


หมดแล้วครับ ขอบคุณน้องแดงครับที่นำมาแบ่งกันชม

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ชวนชม โซโคทรานั่ม กับ ไทยโซโคทรานั่ม

ข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดนี้ผมคัดลอกมาจากบ้านลูกไม้ไทยของท่านทนายกฤตย์ หรือตามลิงค์นี้เลยครับ http://www.pantown.com/board.php?id=26358&area=3&name=board10&topic=13&action=view
 เห็นว่าเป็นข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสายพันธุ์ชวนชมในบ้านเรา หวังว่าจะได้เป็นแหล่งข้อมูลในการอ้างอิงในอนาคต ตลอดจนเอาไว้สำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ศึกษาและทำความเข้าใจครับ ยังไงก็ต้องขออนุญาตเจ้าของความเห็นเจ้าของข้อมูลตลอดจนเจ้าของรูปภาพที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วยนะครับ 

By Phaa

เปรียบเทียบโซโทรานั่ม กับ ไทยโซโค
   
นึกอย่างไงไม่รู้วันนี้ เลยอยากเอาไม้2เผ่าพันธุ์มาเปรียบมวยกัน เผื่อพี่น้องจะได้เอาไปสานต่อแนวคิดหรือสร้างฝันกันต่อไป
น้องๆบางท่าน หรือผู้ที่เข้ามาสนใจชวนชมใหม่ อาจจะงง โซโคทรานั่มคืออะไร ขอกล่าวโดยย่อ คือกลุ่มสายพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่มีลำต้นสูงใหญ่จนเป็นเอกลักษณ์และเป็นชวนชมเฉพาะถิ่น กำเนินขึ้นเฉพาะบนเกาะโซโคทร้า ประเทศเยนเมนเท่านั้น เป็นไม้หวงห้ามครับ แต่เมืองไทยเรามีผู้นำมาปลูกหลายท่าน และราคาค่อนข้างจะแพงหนักหนาสาหัสขนาดขวดกระทิงแดงต้นละ 3,000-7,000 บาท ขึ้นอยู่ว่าใครขาย
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 9:29] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 1
   เริ่มกันที่ใบก่อนเลยครับ ใบโซโคทรานั่ม เท่าที่เห็นมี 2 แบบ
คือแบบที่ 1 แบบแผ่แบนๆ
แบบที่ 2 แบบใบห่อ
ซึ่งในเมืองไทยเรามีผู้ที่ซื้อกล้าเข้ามา เมื่อโตขึ้นก็นำมาเสียบขาย ผมเห็นมีทั้งแบบใบห่อ และใบแบน ทีแรกสัญนิฐฐานว่าน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมหรือถิ่นอาศัย เช่นอยู่ในที่ร่ม ใบไม่โดนแดดเผามากก็เลยแผ่ใบแบนๆ กว้าง แต่ถ้าอยู่กลางแดดจ้าร้อนๆ ต้องห่อใบ และทำใบให้เล็กลง จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละต้นจนสามารถถ่ายทอดพันธุกรรมไปสู๋รุ่นลูกหลานได้
ชมใบโซโคทรานั่มแบบที่ 1 แบบแบนๆ นะครับ
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 9:48] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 2
   หรืออีกแนวคิดหนึ่ง เป็นไปได้หรือไม่ ใบแบนๆเกินขึ้นเฉพาะต้นกล้าหรือไม้ที่ยังไม่ได้อายุ และเมื่อแก่ตัวไปใบจะกลายมาเป็นลักษณะห่อ แบบที่ 2 แต่แนวคิดนี้ผมมาดูไม้เสียบขาย อายุเยอะทั้งคู่คือผ่านการมีดอกแล้ว แต่ใบยังคงแตกต่างกัน มาดูแบบที่ 2 ดีกว่า เรียกว่าแบบห่อ
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 9:56] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 3
   ดังนั้นที่ว่า ต้นเล็กใบกางต้นใหญ่ใบห่อ แนวคิดนี้อาจไม่ถูกต้อง ชมต้นเล็กทั้งคู่แต่ใบไม่เหมือนกันเลย
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 10:03] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 4
ทีนี้ลองมาเปรียบเทียบ ไทยโซโคของเราดูซิว่าแตกต่างกันอย่างไร
เท่าที่ดูโซโคทรานั่ม ใบจะขึ้นมัน แข็ง กรอบ มีสีเขียวเหลือบแดง บางต้นกระดูกกลางใบแดง
ซึ่งไทยโซโคของเรามีหลายต้นที่มีร่องกลางใบหรือกระดูกใบแดง เช่น สายบางคล้า
กล้าเพชรบ้านนา ตอนเล็กๆ อาจพบเห็นกระดูกใบแดงได้เช่นกัน หรือที่เห็นเด่นชัดในชฎาเพชร
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 10:13] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 5
   ต่อไปเรื่องดอก โซโทรานั่ม เห็นมี 2 แบบอีกนั่นแหละ คือ ดอกกลมกลีบเต็ม
กับดอกแหลมกลีบห่าง เที่ยบไทยโซโค พวกกลีบเต็ม ก็บางคล้า S-1
ส่วนกลีบดอกห่าง เพชรบ้านนา
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 10:18] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 6
   ชมดอกไปเรื่อยๆ
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 10:25] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 7
   ชมดอกต่อไป มีทั้งสีอ่อน สีเข้ม
เส้นในกรวยดอกก็แสดงให้เห็นความเข้มสั้นยาวแตกต่างกัน
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 10:29] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 8
 
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 10:30] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 9
   ต่อไปว่าด้วยเรื่องโขด ตรงนี้เอามาเปรียบเทียบกันกับไทยโซโคค่อนข้างยาก เนื่องด้วยโซโคทรานั่มเป็นชวนชมที่ขึ้นตามธรรมชาติ รูปทรงก็เป็นไปตามธรรมชาติไม่แน่นอน แต่มองภาพรวมๆได้ว่าต้นหรือโขด เป็นทรงแท่ง สูงขึ้นไปไม่มีกำหนด และแตกยอดเมื่อขนาดเท่าใดผมก็ไม่ทราบแต่ พออนุมานจากภาพถ่ายจากเว็ปนอกพอเป็นแนวทางศึกษาข้อมูลได้เท่านั้น
ส่วนไทยโซโคเราเมื่อเพาะแล้ว เดือนที่ 3 เข้าเดือนที่ 4 ก็เริ่มแตกตากิ่ง ที่เราเรียกแตกยอดรอบคอกันแล้ว แต่โซโคทรานั่ม เป็นไม้ยักษ์ที่เน้นความสูงมากกว่าความอ้วน ในเบื้องต้นน่าจะโตในลักษณะสูงอย่างเดียวก่อน พอได้ระยะค่อยแตกยอด คล้ายๆยักษ์ญี่ปุ่น จากนั้นค่อยๆสะสมอาหารให้ต้นขยายด้านข้างออกไปๆ
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 10:44] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 10
   ดูกิ่งซะหน่อย ว่าคล้ายๆกิ่งไทยโซโคบ้านเราหรือไม่
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 10:46] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 11
 
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 10:54] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 12
   ดูถิ่นอาศัย และสภาพเป็นอยู่ ของโซโคทรานั่ม บนเกาะโซโคทร้า ประเทศเยเมน
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 10:58] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 13
   สุดท้ายกับภาพฝัก เห็นในเมืองไทย เราสามารถทำฝักโซโทรานั่มได้สำเร็จแล้วไม่ทราบว่าได้เม็ดหรือเปล่า เท่าที่ดูฝักเหมือนๆของบ้านเรา และที่ป็นเอกลักษณ์คือตาของเขาถี่มากเหมือนดาสับปะรดเลยครับ
โดย: เจ้าบ้าน [22 ส.ค. 50 11:02] ( IP A:203.156.81.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 14
   ขอบคุณครับที่เปรียบเทียบให้ดู
โดย: อาร์ม 446 [22 ส.ค. 50 15:37] ( IP A:124.157.216.182 X: )

ความคิดเห็นที่ 15
   ตีตั๋วไปทัศนาจรกันมั้ยน้องอาร์ม
โดย: เสนีย์ 224 [22 ส.ค. 50 16:14] ( IP A:125.27.139.90 X: )

ความคิดเห็นที่ 16
   สวยมากครับ
เป็นกระทู้ที่รวมภาพโซโคแท้ ไว้มากที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็น
ขอเซฟเก็บไว้ดูครับ
โดย: som 736 [22 ส.ค. 50 20:47] ( IP A:124.121.189.100 X: )

ความคิดเห็นที่ 17
   ถ้าไปบอกฝรั่งต่างชาติที่เป็นนักวิชาการทางด้านพฤกษศาสตร์ว่า เพชรบ้านนา มงกุฎทอง มงกุฎเพชร เขาหินซ้อน ชฎาเพชร บางคล้า S1 (รวมรวมผมขอเรียกว่า ไทยโซโค ก็แล้วกัน)ว่าเป็นสายพันธุ์ โซโคทรานัม พวกเขาก็จะพากันหัวเราะเยาะเราได้ว่าคนไทยเราช่างไม่มีความรู้อะไรซะเลย(หรือรู้แบบผิดๆ แล้วก็ถ่ายทอดกันไปแบบผิดๆ) นักวิชาการต่างชาติทุกสำนักบอกไว้ชัดเจนว่า ไม้ของเราที่เรียกว่าไทยโซโคนั้นแท้จริงแล้วมันคือ ชวนชมที่อยู่ใน ตระกูล อราบิคัม (เรามักเรียกทั่วๆไปว่ายักษ์ซาอุ) แต่เป็นอราบิคัมที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างกับอราบิคัมทั่วไป(จำพวก เพชรเมืองคง เพชรหน้าวัง ราชินีพันดอก ยักษ์ดำ ฯลฯ) โดยเฉพาะโครงสร้างของลำต้นและราก รวมถึงใบ แต่โดยรวมๆแล้วก็ยังคงแสดงลักษณะทั่วไปๆของไม้ตระกูลอราบิคัมอยู่ดี (สังเกตได้จากการที่บางครั้งเราแยกไม้ไม่ออกระหว่างไทยโซโคกับอราบิคัม
จนมีบางคนตั้งชื่อในกระทู้ ว่า หน้าวังโซโค ราชินีโซโค ถ้าพูดกันง่ายๆก็น่าจะบอกได้ว่า ไทยโซโคต่างๆ ก็คือ อราบิคัมที่มีรูปทรง Compack นั่นเอง
ซึ่งก็ไอ้รูปทรงแบบนี้แหละที่เป็นเสน่ห์อันน่าหลงใหลของไทยโซโค จนได้ชื่อว่าเป็นชวนชมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สวยงามที่สุดชนิดหนึ่ง
และที่แสดงความคิดเห็นนี้ก็ไม่ได้มีจุดประสงค์แอบแฝงอันใดทั้งสิ้นในฐานะที่เป็นคนรักชวนชม ก็อยากให้พี่น้องที่รักชวนชมเหมือนกันมีความรู้ที่ชัดเจนและถูกต้อง เพราะมันเหมือนว่าทุกๆคนที่เข้ามาในวงการใหม่ๆ กำลังเรียนรู้ในสิ่งที่ผิดๆ ซึ้งในความคิดของผม น่าจะมีผู้ใหญ่ในวงการออกมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้กระจ่างชัด


โดย: ชวนชมวิชาการ [22 ส.ค. 50 21:17] ( IP A:125.26.27.89 X: )

ความคิดเห็นที่ 18
   Arabicum ส่วนใหญ่ใบจะมีขนครับ ยกเว้น ราชินีพันดอก แล้ว Thai soco ไม่มีขน จะมาว่าเป็น Arabicum ใด้ใงครับ ี
โดย: จรูญศักดิ์ [23 ส.ค. 50] ( IP A:125.25.104.232 X: )

ความคิดเห็นที่ 19
   ของไทยเราเอาเป็น โซคั่ม (socum) แล้วกัน 5555 socotranum+arabicum = socum อย่าไป serious
โดย: ส-300 [23 ส.ค. 50 8:40] ( IP A:203.152.41.4 X: )

ความคิดเห็นที่ 20
   หลักการเรื่องใบมีขนกับใบไม่มีขน มันเอามาใช้แยกเรื่องสายพันธุ์ชวนชม(ตามหลักพฤกษศาสตร์ไม่ได้นะครับ)เพราะการจะเอาลักษณะใดลักษณะหนึ่งมาแยกสายพันธุ์พืชหรือสัตว์ ลักษณะนั้นจะต้องเป็นลักษณะที่นิ่ง(เป็นลักษณะเฉพาะของ สปีชีส์นั้นๆ)

ก่อนอื่นคุณจรูญศักดิ์ ต้องรู้ก่อนว่า การที่ชวนชมใบมีขนกับไม่มีขนเกิดขึ้นเพราะอะไร ทุกท่านต้อง ยอมรับในเรื่องนี้ Arabicum บางต้นใบมัน บางต้นใบมีขน ไทยโซโคเพราะเมล็ดออกมาบางต้นใบมัน บางต้นใบขน
แต่เหตุที่เมล็ดของต้นแม่บางต้นเพาะออกมามีแต่ใบมัน นั่นเป็นเพราะต้นแม่ต้นนั้นเป็นเป็นต้นแม่ที่มีเฉพาะยีนที่มีลักษณะเด่น(ลักษณะใบมัน)ไม่มียีนด้อย(ใบมีขน)การถ่ายละอองเรณูก็เกิดในต้นเดียวกันทำให้ไม่มีลูกใบขน
แต่ต้นแม่บางต้นมียีนด้อย(ใบขน)แฝงอยู่ด้วยประกอบกับอาจมีการถ่ายละอองเรณูข้ามต้น(ต้นที่มียีนด้อย/ใบขน) จึงทำให้ลูกออกมามีใบขน
ดังนั้นเราจึงพบว่าไม่สามารถนำลักษณะ การมีใบขนกับใบมันมาแบ่งแยกระหว่าง Arabicum กับ โ ซโคทรานัม
เรื่องสำคัญอีกอย่าง ถ้าทุกท่านไปหาข้อมูลเกี่ยวกับ Adenium Socotranum ทุกท่านจะพบว่า มีการระบุชัดเจน ถึงแหล่งของ Adenium Socotranum ว่าพบเฉพาะที่ เกาะ Socotra(ย้ำว่าเฉพาะบนเกาะ)ของประเทศ เยเมน เท่านั้น ไม่พบบนแผ่นดินใหญ่ และAdenium Socotranum ก็เป็นพืชหวงห้าม (แต่ไม่ทราบว่ามีคนลักลอบนำเมล็ดออกมาได้อย่างไร)

ย้อนกลับมาที่บรรดา Thai soco (เพชรบ้านนา มงกุฎทอง มงกุฎเพชร เขาหินซ้อน ชฎาเพชร บางคล้า S1) หากทุกท่านไปศึกษาแหล่งที่มา จะพบว่า Thai soco ทุกชนิด ส่วนมากจะบอกไว้ชัดเจนว่ามีการนำกิ่งหรือเมล็ดมาจากประเทศซาอุดิอาราเบียหรือประเทศอื่นๆบนแผ่นดินใหญ่ ดังนั้นจึงไม่มีความเป็นไปได้เลยว่า Thai Soco จะเป็นตัวเดียวกับ Adenium Socotranum (ก็อย่างที่บอก Adenium Socotranum พบเฉพาะที่ เกาะ Socotra(ย้ำว่าเฉพาะบนเกาะ)ของประเทศ เยเมน เท่านั้น ไม่พบบนแผ่นดินใหญ่ )

ความจริงก็คือความจริง เราต้องเอาเหตุผลและหลักการมาใช้ในการตัดสิน ต้อง"ใช้สติสัมปชัญญะ"ของท่านเอง



โดย: ชวนชมวิชาการ [23 ส.ค. 50 8:49] ( IP A:125.26.27.89 X: )

ความคิดเห็นที่ 21
   ที่อธิบาย ไม่ใช่ว่า serious หรือไม่ serious ครับ คุณ ส-300 แต่ผมคิดว่า คนที่เข้ามาในวงการ ควรจะ ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นจริง ไม่ใช่เข้ามารู้ในสิ่งที่บิดเบือนหรือสิ่งที่เราอยากให้เป็น ในเมื่อมันเป็นไปไม่ได้และไม่มีทางเป็นไปได้

เราควรจะพูดได้เต็มปากและภูมิใจซิว่า ชวนชมของเรา คือ ไทยโซโค
เป็นอราบิคัมที่ งดงามที่สุดในโลก (ไม่ใช่เข้าใจกันอยู่ว่า เป็น Adenium Socotranum )
คิดดูคนที่เข้ามาใหม่ ได้รับการ อธิบายว่า ไทยโซโคเป็นAdenium Socotranum คนแล้วคนเล่าก็รับรู้ว่าอย่างนั้น แต่ถ้าในวันหนึ่ง น้องๆหรือคนที่เข้ามาในวงการใหม่ๆ ไปศึกษาอย่างละเอียดอย่างที่ผมศึกษา มา ละครับ เขาจะรู้ว่ารุ่นพี่หรือคนที่เข้ามาในวงการก่อนหน้าเรา ให้ข้อมูลหรือความรู้ที่ผิดๆแก่เรามาตลอด

ทำไมเราไม่ทำให้มันกระจ่างล่ะครับ
โดย: ชวนชมวิชาการ [23 ส.ค. 50 9:01] ( IP A:125.26.27.89 X: )

ความคิดเห็นที่ 22
   ปรบมือให้เลยครับ.......... การวิเคราะห์มีหลักการ ที่มาที่ไป น่าเชื่อถือ ว่าแต่พี่เป็นใครล่ะครับ.......... อย่างน้อยขอเป็นชื่อที่ไม่ใช่นามแฝง ผมอยากรู้จักครับ..........
โดย: พลภัทร(188) [23 ส.ค. 50 9:14] ( IP A:124.121.139.38 X: )

ความคิดเห็นที่ 23
   มันจะเป็น Socotranum หรือ Arabicum หรือจะเป็น Arabicum Var. Socotranum หรืออะไร ๆ ก็ตามเหอะ ยังไงมันก็ยังเป็น เพชรบ้านนา เป็นมงกุฎทอง มงกุฎเพชร บางคล้า ฯ อยู่นั่นแหละ

ใน Yahoo เค้าพูดเรื่องนี้ในระดับอินเตอร์กันมาหลายปีแล้ว ทั้งนักวิชาการ นักเพาะเลี้ยง ผู้ค้า พูดกันมากกว่านี้อีก สุดท้ายก็จบลงโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ต่างประเทศก็ยังสั่งซื้อ Thai Soco ทุกชนิดกันจนเมืองไทยเหมือนเดิม
โดย: เบื่อ [23 ส.ค. 50 9:20] ( IP A:58.8.157.12 X: )

ความคิดเห็นที่ 24
   ผมคนนึงที่คิดว่าไทยโซโคเป็น Adenium Socotranum ตอนนี้เข้าใจตามที่ คุณชวนชมวิชาการชี้แจง ก็ไม่แปลกหรอกที่เราจะยอมรับว่าไทยโซโคจัดอยู่ในประเภทไหน มันก็แค่การจัดประเภท แต่จะให้ถูกก็ต้องให้ตั้งอยู่บนหลักสากล แต่ที่ผมสนใจก็คือทำอย่างไร ให้ไทยโซโค มีชื่อเสียงก้องไกล ด้วยลักษณะเฉพาะตัวของมัน ส่วนการจัดประเภทก็ให้คนที่มีความรู้จัดให้ถูกต้องและเข้าใจเหมือนกันก็เป็นการดีก๊าบ คนรุ่นหลังจะได้ไม่อายใครว่า เรารู้จริง
โดย: ไก่949 [23 ส.ค. 50 9:29] ( IP A:222.123.45.217 X: )

ความคิดเห็นที่ 25
   รู้สึกงง สับสน ค่ะ ยอมรับว่าเพิ่งศึกษาชวนชมทั้งที่มีอยู่หลายต้นแต่เป็นชวนชมสีต่าง ๆ พันธุ์ไทย และคิดว่าประเภทยักษ์ และตระกูลเพชรฯ ชฎาฯ มงกุฎฯ ฯลฯ มีรายละเอียดเยอะ ยากแก่การทำความเข้าใจจนบางครั้งสรุปและตัดสินใจว่า "จะเลี้ยงลูกผสม ตระกูลต่าง ๆ ดีกว่าเพื่อความสบายใจของตัวเอง" แต่ก็น่าท้าทายและน่าติดตามนะคะ (เป็นความเห็นส่วนตัวของมือใหม่หัดเล่นที่กำัลังศึกษาค่ะ) 
โดย: ไก่ต๊อก1104 [23 ส.ค. 50 9:29] ( IP A:202.12.97.120 X: )

ความคิดเห็นที่ 26
   อธิบายได้ชัดเจนดีค่ะ เข้าใจง่าย เราควรจะรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง มีเหตุผลมาก ๆ คะ จริง ๆ เราน่าจะลิขสิทธิ์ ไทยโซโค เป็นของเราเอง และภาคภูมิใจใน ไทยโซโค เหมือนกับที่ เขาภาคภูมิใจใน โซโคทรานัม ของเขาจริงไหมคะ อย่ามัวเถียงกันไปมาเลยค่ะ เราก็ทำสายพันธุ์ของเราให้ดีที่สุด ให้ต่างประเทศยอมรับ แค่นี้ก็เป็นสุขแล้วจริงไหมคะ
โดย: siambay515@Soco [23 ส.ค. 50 9:38] ( IP A:58.8.20.142 X: )

ความคิดเห็นที่ 27
   ขอขอบคุณครับ คุณชวนชมวิชาการ ที่ออกมาให้ข้อคิดในเรื่องโซโคทรานั่ม
ความหมายของไทยโซโค คืออะไร มีที่มาอย่างไร ในชื่อนี้ ต้องย้อนไปในอดีต สมัยเพชรบ้านนาดังๆนั่นแหละครับ มีการเปิดตัว และออกอากาศแพร่ภาพในรายการเกษตรรายการหนึ่ง และเชิญผู้เชี่ยวชาญเป็นนักวิชาการ(ตัวจริง) คือ ดร.สาวิตตรี หรือสาวิตรี (ผมอาจพิมพ์ชื่อผิดขออภัยท่านมา ณที่นี้) ท่านเองบอกว่า เพชรบ้านนา ไม่เหมือนและมีลักษณะที่พิเศษกว่าอาราบิคั่มที่พบเห็นโดยทั่วไป และกลับไปมีลักษณะคล้าย โซโคทรานั่ม นั่นเป็นคำกลล่าว โดยนักวิชาการในสมัยนั้น
.....มาดูยุคสมัยใหม่ ยุคเมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา ในวงการกล่าวกันว่าเป็นยุคทองของชวนชมเลยทีเดียว ในบ้านคนรักโซโค เปิดโดยเจ้าบ้าน คุณทรงกลด ในสมัยนั้น มีสมาชิก แค่ ร้อยกว่าคน แต่ละท่านมีทั้งนักเล่นชวนชมอาชีพ /สมัครเล่น/ผู้ทรงคุณวุฒิ หลากหลายสาขา มีความคิดแนวคิดที่สลัยซับซ้อน ก็ยังคงถกเถียงในเรื่อง เพชรบ้านนา บางคล้า เอส-1 มกท. ว่าเป็น อาราบิคั่ม หรือ โซโคทรานั่ม เรียกว่าเถียงกันมานานแล้วครับ มีการแบ่งและสนับสนุนความคิด ออกเป็น 2 แนวอย่างที่ท่านชวนชมวิชาการพูดนั่นแหละ สุดท้ายผมจำไม่ได้เป้นท่านใด เสนอทางออกแนวที่ 3 คือ เราไม่สามารถสรุปว่าชวนชมดังกล่าวเป็นสายใดที่แน่นอนได้ เพราะเราไม่ใช่นักวิชาการ รอนักวิชาการเกี่ยวกับการแยกสายพันธุ์พืชมาทำการวิจัยจำแนกอย่างเป็นทางการก่อน แต่ในระหว่างการรอ ก็ขอให้เรียกชวนชมกลุ่มนี้ว่า "ไทยโคโค" ไปพลางก่อน เพราะถือว่าเริ่มต้นที่เมืองไทย และไม่เหมือนใครในโลก
......จึงเป็นที่มาของคำว่าไทยโซโค จนถึงปัจจุบัน และการที่ท่านชวนชมวิชาการ น่าจะมีความรู้ความชำชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างดี ขอรบกวนภาระนี้ให้ท่านไปดำเนินการทำความจริงให้กระจ่างสักที เอาความคิด แนวคิด การคาดเดา มาตัดสินคงไม่ชัดเจนนะครับ ส่วนผมเองก้ไม่เคยบอกเลยว่าไทยโซโคเป็นโซโคทรานั่ม เพียงแต่อยากนำเสนอในกายภาพภายนอกเกี่ยวกับ ใบ ต้น กิ่ง ดอก มาเปลียบเทียบกันเท่านั้น สาเหตุที่จะชี้ชัดเรื่องที่เราไม่ชัวร์ ไม่ทราบจะทำให้คลาดเคลื่อน ส่วนไทยโซโค อาจจะเป็นคำใหม่ที่ฝรั่ง งง (เฉพาะนักวิชาการฝรั่ง) แต่นักเล่นไม้แปลกไม้หายาก เขาไม่ค่อยสนใจครับ เขาสนใจว่าใครจะขายเขาหรือไม่เท่านั้น แต่เท่าที่ผมทราบ ฝรั่งเขาไม่ได้สนอกสนใจชวนชมเราสักเท่าไหร่ มีแต่อินโดฯ ไต้หวัน เนี่ยแหละที่เข้ามาสนใจมากหน่อย แต่ที่อดหวั่นๆมาก คือ ญี่ปุ่น จะเอาไม้เราไปจดทะเบียนล่ะยุ่งเลย เพราะในอดีตเคยเอารองเท้านารีไทยเราไปจด และในกรณีมังคุดอีก จำไม่ได้ประเทศไหนจดเล่นห้ามไทยแปรรูปไปส่งออกกันเลยทีเดียว
ท่านใดที่อ้างเป็นนักวิชาการช่วยทีครับ ทำให้พืชไทย ไม้ไทย ยังคงอยู่ในเมืองไทย ให้พี่น้องไทยซื้อได้ขายได้ไม่ต้องถูกรอนสิทธิ ก็พอแล้วครับ อย่าเอาแต่พูดมากทำน้อยเลยครับ
....ขอพักดื่มน้ำหน่อยครับ
โดย: เจ้าบ้าน [23 ส.ค. 50 9:41] ( IP A:203.156.81.29 X: )

ความคิดเห็นที่ 28
    ผมรู้ตั้งแต่แรกที่ศึกษาใหม่ๆแล้วละว่าไม่ไช่..แต่ก็ละใว้ในฐานที่เข้าใจ
มีภาพเก่าภาพหนึ่งได้จาก เวปของคุณ ศรีราชาดีไลท์ อยากให้ดู

แต่อย่าไปต่อต้านเลย มันเป็นชื่อทางการค้าไปแล้ว..แต่ศึกษาเอาใว้
ก็ดีครับ
โดย: เหมา 387 [23 ส.ค. 50 10:51] ( IP A:125.25.74.142 X: )

ความคิดเห็นที่ 29
   ขอแสดงความเห็นหน่อยครับ ผมเห็นด้วยกับค.ชวนชมวิชาการ แต่ ปัญหามันก็คือมีคนพยายามยัดเยียดไทยโซโคโข้ไปรวมกับโซโคแท้จากเยเมน ใครไปเตะเข้าก็ออกมาโวยวาย ทั้งๆที่ทุกคนก็รู้ๆความจริงที่ว่าโซโคแท้นั้นต้องมาจากเกาะโซโตร้าเท่านั้น ก็ไม่ฟัง พยายามบอกว่าเป็นโซโคเฉพาะถิ่นบ้าง ซาอุก็มีโซโคบ้าง ไม่รู้ว่าทำไมต้องฝืนขนาดนั้น ตัวเองก็ไม่ใช่นักวิชาการด้านพันธุ์ไม้สักหน่อย การที่ พบน.มกท. อื่นๆ จะเป็นอาราแต่เรายอมรับในฐานะไทยโซโค มันจะลดคุณค่าของไม้หรือไงครับ (ในไม้ผลนะครับ มะม่วงเพาะเม็ดจากน้ำดอกไม้ ยังกลายเป็นน้ำดอกไม้มันได้เลยทั้งๆที่แม่มันโคตรเปรี้ยวเลย)
ผมรู้สึกส่วนตัวว่า วงการชวนชมของเราพยายามบอกทำนองว่าโซโคนั้นเจ๋งกว่าดีกว่า อารา. และอารา.นั้นต้องราคาถูกกว่า ตอนนี้ก็เลยมีคนสร้างโซโคขึ้นมาเองเลย ไม่ว่ากัน ไม้สวยก็จะรุ่งเอง
ผมว่าแม้เรายอมรับว่ามันเป็นสายๆหนึ่งของอารา.ที่มีความพิเศษหายากในซาอุ ก็ไม่ทำใม้มันราคาลดลงหรอกครับ ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับกลไกการตลาด อุปสงค์ อุปทาน ไทยโซโคสวยมากติดฝักยาก ฟอร์มคอมแพค แค่นี้ก็ทำให้ราคามันแพงอย่างต่อเนื่องแล้วครับ
โดย: ไม่เอ่ยนานนะครับ เดี๋ยวถูก.. [23 ส.ค. 50 11:43] ( IP A:61.91.188.250 X: )

ความคิดเห็นที่ 30
   ไม่มีอารมณ์ขันเอาซะเลย เถียงกันไปทำไมได้อะไรขึ้นมา ใครๆเขาก็รู้เรื่องนี้ทั้งแหละ และคุณกฤตย์ก็บอกชัดเจนแล้วไม่ต้องตีความว่า โซโคฯกับไทยโซโคฯ มันก็คนละตัวชัดเจน ไม่ใช่ โซโคฯกับโซโคฯที่อยู่ในไทย อย่างนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง ที่จะต้องบอกคุณกฤตย์ว่าทำความเข้าใจให้ดี ผู้ที่เข้ามาแย้งแสดงว่าเครียดมากเกินไปหรือเปล่าครับ
โดย: สมาชิกที่238 [23 ส.ค. 50 11:49] ( IP A:202.28.9.57 X: )

ความคิดเห็นที่ 31
    ผมชอบและรักชวนครับ ชอบต้นใหนรักต้นใหนก็หาสะสมครับ
โดย: เก่ง วังทองหลาง 910 [23 ส.ค. 50 12:40] ( IP A:61.47.23.20 X: )

ความคิดเห็นที่ 32
 


ที่แน่ๆ SOCOแท้ เลี้ยงให้สวยต้องใช้เวลาหลายปีมากเลยนะครับ

มีอยู่ 1 เสียบดูแล้วกว่าจะโตอีกนานเลย

ดังนั้นเลี้ยง ไทยโซโค ดีกว่า...
โดย: เหมา 387 [23 ส.ค. 50 12:43] ( IP A:125.25.72.233 X: )

ความคิดเห็นที่ 33
   ทุกท่าน..........................เปิดใจยอมรับซะเถิดครับ
มันไม่ผิดถ้าเราจะเรียนรู้ในสิ่งที่ถูก
โดย: ....... [23 ส.ค. 50 14:17] ( IP A:125.26.29.172 X: )

ความคิดเห็นที่ 34
   ขอบคุณ คุณชวนชมวิชาการมากครับที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ จริงๆๆแล้ว soco แท้ยังหน้าตาไม่เหมือนกันเลย
โดย: p.janjira 317 [23 ส.ค. 50 14:51] ( IP A:203.209.38.50 X: )

ความคิดเห็นที่ 35
   1
โดย: p.janjira 317 [23 ส.ค. 50 14:53] ( IP A:203.209.38.50 X: )

ความคิดเห็นที่ 36
   2
โดย: p.janjira 317 [23 ส.ค. 50 14:54] ( IP A:203.209.38.50 X: )

ความคิดเห็นที่ 37
   3
โดย: p.janjira 317 [23 ส.ค. 50 14:55] ( IP A:203.209.38.50 X: )

ความคิดเห็นที่ 38
   4
โดย: p.janjira 317 [23 ส.ค. 50 14:56] ( IP A:203.209.38.50 X: )

ความคิดเห็นที่ 39
   ต้น คห.38 เป็นต้นที่เคยให้ดอก ที่คุณ กฤตย์ นำดอกไปเป็นโลโก้
โดย: p.janjira 317 [23 ส.ค. 50 15:00] ( IP A:203.209.38.50 X: )

ความคิดเห็นที่ 40
   5 ใบต้นนี้จะเล็กกว่าต้น คห.38
โดย: p.janjira 317 [23 ส.ค. 50 15:04] ( IP A:203.209.38.50 X: )

ความคิดเห็นที่ 41
   สุดท้ายใบกว้างกลม
โดย: p.janjira 317 [23 ส.ค. 50 15:07] ( IP A:203.209.38.50 X: )

ความคิดเห็นที่ 42
   โอ้โหครับพี่จันจิรา 317 ตารอบตัวเลยครับ สวยมากๆ
โดย: ก๊อก-กาฬสินธุ์ 823 [23 ส.ค. 50 15:20] ( IP A:125.24.166.127 X: )

ความคิดเห็นที่ 43
   ชวนชมในโลกนี้ จำแนกได้หลายชนิด อันนี้เป็นข้อมูลเก่า นานมากแล้ว ไร้ว่าปัจจุบันมีกลุ่มใดเกิดขึ้นมาใหม่บ้าง
1. Adenium obesum Balf. f. (Desert Rose, Mock Azalea, Impala Lily ได้แก่พันธุ์พื้นเมือง)
2) A. multiflorum Klotzsch ได้แก่ แดงเอหรือแดงอาฟฯ พบที่โมแซมบิค
3) A. swazicum Stapf (Impala Lily หรือกลุ่มช็อคกิ้งพิ้ง) พบที่สวาซิแลนด์ โมแซมบิค ทรานซ์วาล ของอาฟริกาใต้
4) A. bomianum Schinz ได้แก่กลุ่มดอกผักบุ้ง ใบกระท้อน ใบฝรั่ง
5) A. oleifolium Stapf ได้แก่กลุ่มใบเงิน พบที่บอทสวาน่า นามิเบีย ทรานซ์วาล เบคชัวนาแลนด์ และอาฟริกาเหนือและใต้
6) A. somalense var. somalense Balf. f. ได้แก่กลุ่มยักษ์ใบยี่โถ ยักษ์ใบเรียว พบที่โซมาเลีย แทนซาเนีย และตะวันตกเฉียงเหนือของเคนย่า
7) A. somalense var. crispum ได้แก่กลุ่มยักษ์แคระ ดอกสีโกโก้ พบที่โซมาเลีย เคนย่า และแทนซาเนีย เป็นชนิดย่อยของกลุ่มยักษ์ใบยี่โถ
8) Adenium arabicum Balf. f. ได้แก่ยักษ์อาหรับ ยักษ์ซาอุฯ ยักษ์อริโซน่า พบที่แถบตอนใต้และตะวันตกของริมคาบสมุทร
9) A. socotranum Vierh. พบที่เกาะโซโคทร้าของเยเมน ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียและพบที่ตอนใต้อาหรับ ถือว่าเป็นชวนชมพันธุ์ยักษ์ที่แท้จริง

เท่าที่ผมอ่าถิ่นกำเนิดสายพันะหรือชนิดชวนชม อย่างในประเทศแถบอัฟริกา ก็มีหลายชนิด ผมเองก็ไม่ทราบว่าประเทศซาอุมีแต่อาราบิคั่มอย่างเดียวหรือไม่ เห็นที่เมืองมีฮาย มีผู้ที่ไปซาอุเอากิ่งมาเลี้ยง เรียกยักษ์มูฮาย แต่ดูแล้วคล้ายยักษ์ญี่ปุ่นผสมมัลติฟอรั่ม ทำให้ผมมองว่าแต่ละประเทศอาจมีชวนชมมากกว่า 1 สายพันธุ์ ถ้าเป็นอย่างนี้ชวนชมพื้นเมืองมีโอกาสผสมข้ามสายพันธุ์กันได้
ลองอ่านข้อความที่ผมคัดลอกออกมา เพื่อให้เห็นว่าชวนชมสามารถกลายพันธุ์ได้แม้จะไม่ได้ผสมข้ามพันธุ์
...Genus: ชื่อสกุล หมายถึงกลุ่มของพืชหลายชนิด ที่โครงสร้างมีลักษณะเหมือนกันตามที่นักพฤกษศาสตร์ได้ศึกษาไว้ สำหรับชื่อของสกุล เป็นคำนาม อาจจะใช้ชื่อที่มาจาก เทพนิยาย วรรณคดี หรือจากแหล่งอื่นๆ ซึ่งบ่งบอกถึงลักษณะรวมๆ ของพืชในกลุ่ม

....Species: ชื่อชนิดของพืช เป็นคำคุณศัพท์ บ่อยครั้งมักจะใช้ชื่อ สถานที่, ลักษณะเด่นที่ปรากฏ หรือใช้ชื่อของบุคคล เพื่อเป็นการให้เกียรติในการค้นพบ ในการศึกษารายละเอียด คำว่า Species เมื่อเขียนย่อจะเขียนว่า sp. หรือ spp.

.....Variety: กลุ่มย่อยของพืชชนิดเดียวกัน เพื่อบ่งบอกถึงลักษณะบางอย่างที่แตกต่างออกไป ซึ่งลักษณะที่แตกต่างออกไปนั้น เกิดเองตามธรรมชาติ หรือกลายพันธุ์ออกไป คำว่า VAriety เขียนย่อว่า var.

.....Cultivar: กลุ่มย่อยของพืชชนิดเดียวกัน เพื่อบ่งบอกถึงลักษณะสายพันธุ์ปลูกที่แตกต่างออกไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรืออาจเกิดในโรงเพาะชำ ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจจากการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ลักษณะด่าง ลักษณะทรงต้นแปลกออกไป สีใบหรือดอกที่แตกต่างกันออกไป และชื่อ Cultivar มักใช้เป็นชื่อทางการค้า เขียนเป็นคำย่อว่า cv.

.....Hybrid: เป็นลักษณะที่หลากหลายออกไปจากการเพาะผสมพันธุ์โดยอาศัยเพศ ทำให้ได้ต้นใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจเป็นการผสมพันธุ์ในพืชสกุลเดียวกัน หรืออาจผสมพันธุ์ข้ามสกุลก็มี การเขียนชื่อทางพฤกษศาสตร์ให้ถูกต้องนั้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อสกุล Genus และชื่อชนิด species หลักการคือ ชื่อสกุล ต้องเริ่มต้นตัวอักษรแรกเป็นตัวใหญ่ และชื่อชนิดเริ่มต้นด้วยตัวอักษรเล็ก และทั้ง 2 ส่วน ควรเขียนด้วยตัวอักษรเอียง หรือขีดเส้นใต้แยกส่วนระหว่างชื่อสกุลกับชื่อชนิด ตัวอย่างเช่น Platycerium holttumii หรือ Platycerium holttumii เป็นต้น
ขอให้มีความสุขกับการเลี้ยงชวนชมนะครับ ไม่ว่าชวนชมกลุ่มดังกล่าวจะเป็นชนิดอาราบิคั่ม หรือชนิดอื่นใด เรายังพิสูจน์ไม่ได้ และยังไม่มีนักวิชาการท่านใดมาพิสูจน์หาข้อยุติ จะให้ผมเชื่อใครดีล่ะครับ แต่ถ้าถามผมว่าสนใจในเทือกเถาวงศ์สกุลของไม้เหล่านั้นหรือไม่ ผมตอบได้เลยครับ ไม่ได้สนใจ ผมชอบประเภท ต้นแท่ง กิ่งสั้น มันจะเป็นวงศ์ไหน สกุลไหน โดนใจผมหมดครับ
... แต่ที่หลายคนซื้อเข้ามาชื่นชมด้วยจำนวนเงินมิใช่น้อย คนซื้อส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สนใจเทือเถาเหล่ากอของเขา แม้นามสกุลของเขาจะไปเป็นอาราบิคัม โซโคทรานั่ม หรือโซมาเล้นท์ คงไม่มีผลอะไรต่อราคานะครับ เมื่อเทียบกับความนิยมผนวกกับความถูกใจของผู้ซื้อ
....ถึงตรงนี้ผมยืนยันว่าผมไม่เขียนเชียร์ไทยโซโค ให้เป็นโซโคทรานั่ม หรืออาราบิคั่ม เพราะผมไม่มีความรู้ในการแยก จำแนก ตามหลักวิชาการเลยสักนิด แต่ที่นำเสนอก็อยากให้พี่น้องได้ทราบความหลากหลายในตัวชวนชมบนโลกใบนี้ มันมีมากมายกว่าในตำราครับ ถึงวันนี้อาจมีชวนชมอีกหลายสายพันธุ์ที่ยังไม่ได้ถูกบันทึกไว้ก็ได้ครับ
โดย: เจ้า [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 44
   บ้าน
โดย: A:203.156.81.29 X: [0 3] ( IP 20070823155331 )

ความคิดเห็นที่ 45
   ขอชื่นชมคุณชวนชมวิชาการมากครับ ผมมีความคิดในแนวนี้มานานแล้วเหมือนกันครับ พวกไทยโซโคทั้งหลายที่เราเล่นกันอยู่ในขณะนี้ ผมคิดมานานแล้วว่ามันคือยักษ์ซาอุด้วยกัน นั่นคือมันเป็นอราบิคัมนั่นเอง แต่ก็ไม่กล้าแสดงความเห็นอะไรออกไป เพราะเพิ่งเข้ามาในบ้านหลังนี้ แต่ก็คิดเสมอว่าไม้ไทยโซโคทั้งหลายแหล่เหล่านี้ถ้าเราปล่อยให้เลี้ยงอย่างอุดมสมบูรณ์ โดยการลงปลูกในพื้นดินที่สูงและระบายน้ำได้ดี ผมว่าไม้พวกนี้จะมีขนาดใหญ่โตเป็นยักษ์ทั้งหมด การที่มันมีขนาดคอมแพล็กได้ก็เพราะว่าเราเลี้ยงมันแบบจำกัดทั้งอาหารและน้ำมากกว่า แต่ก็ไม่เป็นไรครับเราสามารถทำยักษ์ให้เป็นยักษ์ตัวเล็กแล้วเปลี่ยนแปลงเขาว่าเป็ฯไทยโซโค ทำให้เราสบายใจมีความสุขในการเลี้ยง การซื้อขายก็ทำเถอะครับ แต่เราควรรู้ว่าที่จริงเขาคือยักษ์อราบิคัม ใบมัน
โดย: คมสัน - 246 [23 ส.ค. 50 16:17] ( IP A:61.19.127.109 X: )

ความคิดเห็นที่ 46
   อ้าว ตกลงโซโคบ้านเราเป็นอราบิคั่มจริงๆหรือครับ แล้วที่บ้านผม ก็ต้องเปลื่ยนชื่อเป็น i-love-arabicum แล้วล่ะซิ แล้วไหนจะเสื้ออีกล่ะ ยุ่งแน่ๆเลยผม ไม่น่าไปเชื่อคำของเจ้าของสวนต่างๆเลย....เฮ้อ
โดย: ทรงกลด [23 ส.ค. 50 16:30] ( IP A:124.120.212.247 X: )

ความคิดเห็นที่ 47
   วันหน้าผู้ฝากลิงค์ กรุณาแปะชื่อเสียงเรียงนามก็ดีนะ
โดย: ทรงกลด [23 ส.ค. 50 16:33] ( IP A:124.120.212.247 X: )

ความคิดเห็นที่ 48
   ผมว่าไม่ยากนะ
พี่ทรงกลดก็เปลี่ยนเป็น
i-love-Thai_socotranum สิครับ smile

ปล. จิงอย่าว่าครับเรื่องนี้จัดเป็นเรื่องน้ำลายท่วมปากระดับคลาสสิคเลยครับ 555
โดย: PBB247/ตู่ครับ [23 ส.ค. 50 16:40] ( IP A:203.185.130.74 X: )

ความคิดเห็นที่ 49
   ผมว่าเรียกไปเหมือนเดิมก่อน เพราะเรายอมรับกันมานานหลายปีแล้ว
ถ้าจะเปลี่ยนใหม่ ควรให้มีหลักฐานที่แน่ชัด
เดี๋ยวต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
โดยเอาแต่ละชนิดเอาไปให้นักพฤกษศาสตร์ ช่วยแยกเป็นชนิด ๆไป
มันไม่น่ายากนะ สำหรับการตรวจแยกเพียงแค่ species
แต่ถ้าดูจากลักษณะด้วยสายตาแล้ว ไทยโซโค
มันใกล้เคียงกับ อราบิคัมมากกว่าที่จะไปทางโซโคทรานัม
โดย: som 736 [23 ส.ค. 50 16:53] ( IP A:203.131.208.52 X: )

ความคิดเห็นที่ 50
   เขารู้กันมาตั้งนานแล้วล่ะลุง...
ว่าไทยโซโคเป็นอะราบิคัมที่กลายพันธ์เป็นใบมัน ทรงต้นคอมแพ็ค
ก็แค่ดูคล้ายโซโคทรานัม แต่ไม่ใช่แน่นอน ยืนยัน
เป็นความเชื่อส่วนตัว โปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน...
โดย: คนชอบกินไข่เต่า [23 ส.ค. 50 22:53] ( IP A:203.113.62.6 X: )

ความคิดเห็นที่ 51
   ขอบคุณคุณชวนชมวิชาการมากๆๆๆเลยที่โพสได้ตรงใจผมมากๆๆๆครับ You are my hero! เนื่องจากเรื่องนี้ผมอยากจะเห็นมีการชี้แจงอย่างนี้มานานแล้วครับ

ขอพูดจากประสบการตรงที่เคยเลี้ยงsocotranumแท้ มาตั้งแต่ชุดแรกๆที่อเมริกานำออกมาขาย ขอสรุปและยืนยันว่ามีความแตกต่างจาก Thai Soco มากซะจนไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันได้ครับ

บ่อยครั้งที่ชาวต่างชาติมอง Thai soco เป็นเพียงไม้socoที่ไม่แท้ บ้างก็เหมาเอาว่าเป็นลูกผสม arabicum x socotranum จนมีการสับสนกันมากมายในตลาดเมืองนอก ผมในฐานะคนที่ติดตามตลาดsucculentต่างประเทศมาพอสมควร รู้สึงไม่ดีทุกครั้งที่ชวนชมThai soco ของเราถูกมองในแง่ลบเพราะชื่อที่ผิดพลาด แทนที่จะมีความนิยมชมชอบมากกว่านี้ ผมคิดว่า ถึงแม้จะเป็นสาย arabicum แต่ความสวยงามนี่ใครเห็นเป็นต้องหลงรัก และก็ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งชื่อ socotranum เลยล่ะครับ
โดย: BEE [24 ส.ค. 50 4:45] ( IP A:139.222.238.137 X: )

ความคิดเห็นที่ 52
    ขออธิบายภาพใน ความคิดเห็นที่ 28 หน่อยนะครับ เห็นป้ายชื่อเก่าๆ ที่ติดใว้ว่าเป็น

ยักษ์ซาอุโซโคทรานั่ม แสดงว่าแรกๆ ยังเป็นยักษ์อยู่ แล้วตอนหลัง ความว่ายักษ์คงหาย
ไป..
โดย: เหมา 387 [24 ส.ค. 50 11:08] ( IP A:125.25.94.159 X: )

ความคิดเห็นที่ 53
   ลองไปค้นแฟ้มภาพจากซีดี ในรายการหนึ่ง ลุงเสริมแกเรียกกิ่งเพชรบ้านนาต้นแม่ในตอนนั้น ชื่อยักษ์ซาอุ คือยักมาจากซาอุ แกไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ามันไม่เหมือนยักษ์ซาอุ จนในรายการนั้น ดร.สาวิตตรี บอกว่า แม้จะมาจากประเทศซาอุ แต่ก็ไม่เหมือนยักษ์ซาอุ แต่ไปคล้ายชวนชมโซโคทรานั่ม ผมเข้าใจว่าเอา 2 ชื่อ มารวมกัน ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นชื่อเพชรบ้านนา ลองไปชมซีดี ที่ อาจารย์ บอยแกทำแจกเมื่อกลางปีที่แล้วนะครับไม่รู้ว่าใครยังเก็บไว้บ้าง
โดย: เจ้าบ้าน [24 ส.ค. 50 16:02] ( IP A:203.156.81.123 X: )

ความคิดเห็นที่ 54
   ผมเริ่มจะเชื่อแล้วว่ามัเป็นarabicum แต่มันจะมีความสำคัญมากไหม กับถ้าผมไปเป็นกรรมการตัดสินประกวดนางงาม และเลือกคนที่สวยที่สุดในสายตาผม แต่เรียกชื่อเธอผิดเพี๊ยนไป (แน่นอนกรณีนี้ไม่เกี่ยวโดยตรงกับต้นไม้แต่อุปมาเอา) แต่สำหรับการค้าในระดับนานาๆชาติ คงมีความสำคัญอยู่...ก็ว่ากันต่อไป
โดย: ทรงกลด [24 ส.ค. 50 18:36] ( IP A:124.120.199.230 X: )

ความคิดเห็นที่ 55
   พวกเราเองก็รู้อยู่เเล้วว่ามันคืออะราบิครั่ม
เพียงเเต่มันเเปลกไปกว่าอะราทั่วไปที่ทรงสูง
ลองกลับไปดูที่มาของเพชรบ้านนาซิ เเม้นในโอกาสที่ออกอากาศไปนั้นจากที่เพื่อนๆในเว็ปช่วยทำออกเเจกจ่าย ในนั้นจากคำพูดของพ่อคุณอนุชาว่ามันมาจากไหนของเมืองซาอุ
โดย: ไก่โต้งสมาชิกลำดับ56gonwichai.a@thaiairways.com [24 ส.ค. 50 19:31] ( IP A:202.122.130.31 X: )

ความคิดเห็นที่ 56
   เท่าที่เห็นการเเบ่งว่าตัวไหนเป็นไทยโซโคนั้นจากที่สังเกตุ
ได้ก็คือ ยอดสั้น กว่าทั่วๆๆไป กิ่งยอดบนโขดเเยะ นำตัวอย่างมาจากเพชรบ้านนา
โดย: ไก่โต้งสมาชิกลำดับ56gonwichai.a@thaiairways.com [24 ส.ค. 50 19:34] ( IP A:202.122.130.31 X: )

ความคิดเห็นที่ 57
   ยังมีพันธุ์พืชและสัตว์ที่ถูกค้นพบใหม่ๆเสมออย่าคิดมาก
พวกฝรั่งบางครั้งมันยังไม่เคยเห็นเลย เพชรบ้านนาอาจจะไม่ใช่ทั้งโซโคและอะราบิคั่มก็ได้ เพราะมีข้อแตกต่างและข้อเหมือน... เมล็ดชวนชมสามารถปลิวไปได้ไกล ลองนึกดู ถ้าเจอพายุเฮอริเคนล่ะ ผมไม่เชื่อหลอกว่ามีแต่ในเกาะโซโคต้า เมืองไทยเพียบเลย
โดย: เทิดเกียรติ 208 [25 ส.ค. 50 18:26] ( IP A:203.146.63.182 X: )

ความคิดเห็นที่ 58
   ยังไงที่แน่ๆ เพชรบ้านนาก็นำเข้ามาจากซาอุแน่นอน เพราะตอนที่ยังไม่มีชื่อก็เรียกว่ายักษ์ซาอุ และที่ฝรั่งมันไม่เคยเห็นเพราะบนเกาะโซโคต้ามันก็ไม่มีเพชรบ้านนา แล้วถ้ามันมากับพายุเฮอริเคนมันพัดมาจากไหนไม่ทราบ?
โดย: QQ [25 ส.ค. 50 19:43] ( IP A:125.25.184.240 X: )

ความคิดเห็นที่ 59
   ผมมีเรื่องหนึ่งที่ให้สมาชิกไปคิดกันเอาเอง
มีโซโคฯหรือะราบิคั่มพันธุ์ไหนที่นำไปเสียบยอดแล้วสร้างหัวสะสมอาหารที่รอยเสียบบ้าง และมีโซโคฯหรือะราบิคั่มพันธุ์ไหนที่นำมาชำแล้วทำให้ลำต้นสะสมอาหารเหมือนเพชรบ้านนา ผมยังมีความคิดว่าเพชรบ้านนาก็คือ โซโคเฉพาะถิ่นที่ค้นพบที่ซาอุดิอาระเบีย ใครเห็นด้วยกับผมยกมือขึ้น เพราะต้นแม่ที่ซาอุเหมือนต้นนี้เลย
โดย: เทิดเกียรติ 208 [25 ส.ค. 50 22:08] ( IP A:203.146.63.185 X: )

ความคิดเห็นที่ 60
   คุณเทิดเกียรติอย่าเข้าใจผิดนะครับ เพราะรูปข้างบนนี่เป็น Adenium socotranum แท้ๆที่ถ่ายบนเกาะโดย Alaine Christoph นักสะสมพันธุ์ไม้ชาวฝรั่งเศษที่ไปสำรวจเกาะนี้ ซึ่งที่มันเป็นแบบนี้เพราะโดนพายุหรือสัตว์รบกวนจนแคระแกรนและนอนราบลง

เรื่องชื่อนี่จริงๆผมก็ไม่อยากจะซีเรียสหรอกครับ เพราะตำราต่างเล่มก็บอกต่างกัน อย่างในหนังสือ Adenium and Pachypodium โดย Gordon Rowley ,เค้าไม่มี Adenium arabicum ด้วยซ้ำ โดยเค้าเห็นว่ามันไม่ต่างจาก obesum พอที่จะแยกออกเป็น species ซึ่งประเด็นนี้ผมไม่เห็นด้วยกับผู้เขียนแน่นอน ส่วน socotranum เค้าให้แค่เป็นชนิดย่อย นั่นคือเป็น Adenium obesum subsp. socotranum ซึ่งผมก็ไม่เห็นด้วยอีก เพราะผมคิดว่า socotranum มีความเด่นมากพอที่จะเป็น Adenium socotranum เต็มตัว สรุปคือ ถ้าไม่มีการแบ่งย่อย แม้แต่ตอไทยหรือฮอลแลนด์ (obesum) ก็คือ species เดียวกับ arabicum, somalense และ socotranum!!

เพียงแต่ socotranum มีความเด่นมาก ที่แน่ๆคือพบเฉพาะบนเกาะนี้เท่านั้น ย้ำเลยครับ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เนื่องจากเกาะsocotra อยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่สามร้อยกว่ากิโลเมตร และเกาะนี้ก็มีไม้ endemic มากมายที่ไม่พบที่อื่น เช่น Dendrosocyos socotranum หรือแตงต้นยักษ์ หรือจันทร์ผายักษ์ Dracaena cinnabari และอีกมากมายนับไม่ถ้วน ส่วนถ้าท่านใดยังข้องใจอยู่ ต้องลองหาseedling ของโซโคแท้ๆไปปลูกเองดู จะพบว่าเค้ามีความใกล้เคียงกับsomalense(ยักษ์ญี่ปุ่น?) มากกว่าarabicum และ Thai-soco ด้วยซ้ำครับ ซึ่งก็ไม่แปลกอีกแหละ เพราะถึงแม้socotra จะเป็นของประเทศเยเมน แต่อยู่ใกล้แหลม Guardafui ของโซมาเลียมากกว่าชายฝั่งของเยเมนครับ

ส่วนArabicumนั้นผมไม่ขอcommentเรื่องจะจำแนกอย่างไรว่าอะไรคือ Thai-soco หรือ arabicum เพราะก็อาจจะมีการแบ่งspecies ย่อยลงไปได้ ซึ่งอย่างที่บอกไว้ตอนต้น ทั้งหมดอยู่ที่นักจำแนกแต่ละท่านว่าจะมีอะไรเป็นเส้นแบ่งระหว่าง species, subspecies., and variety แต่โดยรวมก็คือว่า ต้นนี้arabicum เป็นชื่อที่ใช้เรียกชวนชมจากเขต แผ่นดินใหญ่ของ arabian penninsula ครับ
โดย: BEE [26 ส.ค. 50 8:43] ( IP A:139.222.238.137 X: )

ความคิดเห็นที่ 61
   แล้วใครพอจะสรุปให้มือใหม่ฟังได้หรือเปล่าครับว่าที่เราซื้อขายกันในเว็บตอนนี้ โซโคแท้มีอะไรบ้าง โซโคเทียม (โซโคไทย) มีอะไรบ้าง และบาราบิคัม มีอะไรบ้าง ผมอ่านมาพบว่า ผมเข้าใจผิดมาตลอด แท้จริงแล้วเพชรบ้านนาไม่ใช้ SOCO
โดย: p [26 ส.ค. 50 10:24] ( IP A:125.25.250.64 X: )

ความคิดเห็นที่ 62
   วอนนักวิชาการ นักวิจัย ผู้รู้ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานกรมวิชาการเกษตร หรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โปรดทำเรื่องนี้ออกมาให้กระจ่าง เป็นบรรทัดฐานให้พวกเราได้ยึดถือเป็นคู่มือในการเพาะเลี้ยง เป็นคู่มือในการบอกกล่าวให้ผู้คนได้เป็นแบบในการศึกษาหาข้อมูลต่อไป
โดย: หมี 339 [26 ส.ค. 50 22:28] ( IP A:124.157.211.74 X: )

ความคิดเห็นที่ 63
   พอสรุปประเด็นในเรื่องนี้ออกเป็น
1.มีผู้เห็นว่า ไทยโซโค คือ อาราบิคั่ม แน่นอน
2.มีผู้เห็นว่า ไทยโซโค เป็นสายพันธุ์ที่น่าจะแตกมาจาก อาราบิคั่ม
3.มีกลุ่มที่ อยากให้มีนักวิชาการชี้นำ แยกแยะไทยโซโคว่าจัดอยู่ในกลุ่มใดกันแน่
...บทสรุปของผมก็คือ ทุกท่านยังคลางแคลงใจกับ ไทยโซโค ว่าเขาควรจัดอยู่ในกลุ่มใดของชวนชม
...และเมื่อมีนักวิชาการเข้ามาทำการวิจัยจัดกลุ่ม ก็คงคลายปัญหาข้อข้องใจกับทุกๆท่านไปด้วยดี
....และในระหว่างที่ รอ ...วามจริง หรือความถูกต้อง พวกเราในฐานะคนรักษ์ หรือคนนิยมชวนชม กลุ่มหนึ่งในประเทศไทย เราควรจะทำอย่างไร กันดีล่ะ
... เช่นกลุ่มที่ต้องการทราบว่าไทยโซโคเป็นกลุ่มไหน จะรอนักวิชาการมาดำเนินการ ผมว่านักวิชาการเขาคงไม่สนใจเรื่องของพวกเราสักเท่าไหร่ ถ้าไม่มีคนนำเสนอส่งเรื่องไปให้เขา มันทำให้วันเวลาผ่านไปพร้อมกับข้อกังขาของพวกท่าน
... หรือกลุ่มที่ไม่ได้สนใจเรื่องนี้มากมายนัก คือใครเขาว่าไปทางไหน ก็ไปด้วย ไทยโซโคจะเป็นอะไรก็ไม่ทำให้เขาเสียความรู้สึก และยอมรับไม่ว่าเป็นอะไรก็ตาม ขออยู่เฉยๆ ไม่ได้เดือดร้อน
****และผมเชื่อว่า สมาชิกหลายคนในบ้านนี้ ทุกท่านล้วนแต่มีคุณวุฒิและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการจะหาข้อมูลข่าวสารในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาอ่านเป็นอย่างมาก และอย่าถือว่าเป็นข้อขัดแย้ง หรือการแบ่งขั้ว ผมถือว่าสิ่งนี้คือข้อมูล-เป็นหนทางที่สามารถไปหาคำตอบได้ในที่สุด และเชื่อว่าหลายๆท่านสามารถช่วยกันได้แม้ความคิดเห็นจะแตกต่างกัน
...ส่วนตัวผมเองขอยืนยันว่าไม่มีความรู้ ขอยู่กลุ่มรอ ให้นักวิชาการมาจำแนกกลุ่ม ครับ
โดย: เจ้าบ้าน [27 ส.ค. 50 9:23] ( IP A:203.156.81.202 X: )

ความคิดเห็นที่ 64
   ส่วนตัวผมยังชอบคำว่า thai-soco (soco style ไทยๆ) โดยผมไม่ได้คิดว่าเป็นการฉ้อฉล โกหก แต่อย่างใด มันก็เป็นชวนชมซาอุที่คนไทยเอามาเล่น แล้วรูบร่าง ทรงมันไปคล้าย soco บนเกาะ socotra เราก็เลยเรียกว่า thai-soco ไม่ได้หมายความว่าเราไปทึกทักว่ามันเป็น real soco เป็นการให้เกียรติ soco ซะด้วยซ้ำไป(แสดงว่าเราชอบไม้ทรงแบบ soco เจอพิมพ์นี้เข้า เลยขอเอาชื่อมาใช้หน่อย ตามนิสัยคนไทยเรา/ เหมือนเราเรียกเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ว่าซิโก้ เรียกนักร้องว่า thai Elvis เรียกทักษิณว่า ซินาต้า ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นการไม่ดี เสียหาย ทำร้ายตัวจริงเขาแต่อย่างใด เป็นการนิยม ยกย่อง ให้เกียรติ เจ้าตัวทราบ-ถ้ายังอยู่ ก็ย่อมภูมิใจครับ กรณีนี้ตัว real soco เองมันน่าจะภูมิใจที่มีคนเอาชื่อมันไป referenceนะ เพียงแต่คนเลี้ยง real soco เขาไม่ภูมิใจกับมันด้วย 5555 อาจต้องการสงวนไว้เป็นหนื่งเดียวในเกาะ หนึ่งเดียวในโลก ผมเองไม่ติดใจอะไรเลย ยังเลี้ยงชวนชมจากซาอุที่เรียกกันว่า thai soco ที่ทรวดทรงละม้ายคล้าย real soco อย่างมีความสุขครับ
โดย: ส-300 [27 ส.ค. 50 14:52] ( IP A:203.152.41.4 X: )

ความคิดเห็นที่ 65
   ถ้านักวิชาการให้คำนิยามของโซโคว่าต้องเป็นชวนชมที่เกาะโซต้าเท่านั้นก็ควต้องยอมรับครับไม่ใช่โซโคก็ไม่ใช่ แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น แต่ก็ไม่ควรสรุปว่าใช่หรือไม่ใช่ เพราะยังไม่มีการพิสูจน์ ว่าเป้นพันธุ์ใด เพชรบ้านนาที่พบที่ซาอุในแต่ละที่ก็ห่างกันไม่ต่ำกว่า สามร้อย ก.ม.เหมือนกัน ผมเพียงแสดงความคิดเห็นไปตามความรู้สึกนะครับไม่ใช่นักวิชาการอะไรกับเขาหรอกเพราะไม่มีความรู้ทางด้านนี้ ผมเห็นว่าในโลกเรานี้มันก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังต้องค้นคว้าและพิสูจน์..
โดย: เทิดเกียรติ 208 [27 ส.ค. 50 21:59] ( IP A:203.146.63.189 X: )

ความคิดเห็นที่ 66
    มีโซโคฯหรือะราบิคั่มพันธุ์ไหนที่นำไปเสียบยอดแล้วสร้างหัวสะสมอาหารที่รอยเสียบบ้าง และมีโซโคฯหรือะราบิคั่มพันธุ์ไหนที่นำมาชำแล้วทำให้ลำต้นสะสมอาหารเหมือนเพชรบ้านนา ผมยังมีความคิดว่าเพชรบ้านนาก็คือ โซโคเฉพาะถิ่นที่ค้นพบที่ซาอุดิอาระเบีย 
ถ้าอย่างงี้ เพชรบ้านนา ก็เป็นคนละตระกูล กับ บางคล้า มงกุฎเพชร มงกุฎทอง ชฎาเพชร เขาหินซ้อน เพราะพวกนี้เสียบไม่มีหัวสะสมอาหาร ตอนก็ไม่มีหัวสะสมอาหาร ดังนั้นห้ามเรียกไม้ตระกูลบางคล้าทั้งหลายว่าไทยโซโค เดียวสับสนอีก เท่ากับเพชรบ้านนาเป็นไทยโซโคตัวเดียว ตระกูลบางคล้าเป็น ไทยอะรา ดีมั้ยคุณเทอดเกียรติ
โดย: QQ [27 ส.ค. 50 22:00] ( IP A:125.25.235.109 X: )

ความคิดเห็นที่ 67
   ขอตัดปะมาจากarticle ที่เขียนโดย Dimmitt and Hanson สองผู้เชี่ยวชาญไม้อวบน้ำ เกี่ยวกับ arabicum และ socotranum

Adenium arabicum
Adenium arabicum Balf. f. occurs along the southern and western margin of the Arabian peninsula. The plants are caudiciform in the more arid habitats and treelike in wetter ones. The Saudi form may produce an erect trunk to four meters (12 feet) tall (Vincett, 1984). Higher in the mountains the trunk is reduced to a massive caudex (Collenette, 1985). The leaves are generally larger than those of A.obesum, tend to be pubescent, and have very rounded tips. Populations in southern Yemen (Figs.19 and 21) are characterized by short, broad caudexes and the largest leaves in the genus-up to 20cm long and 12 cm wide (8 x 4.5", larger than those of A.boehmianum, which was erroneously reported to have the largest leaves in Dimmitt and Hanson, 1992). The caudex can attain a meter in diameter (Collenette, 1985; Miller and Morris, 1988).

In cultivation this species has a definite winter dormancy and seems to leaf out several weeks after A.obesum cultivated under the same conditions. The Saudi form retains leaves year round but still grows only during the hot season. Plants begin flowering at the end of dormancy in late winter and continue into early summer. The Saudi form has a major flush in spring but flowers sporadically all year. The flowers vary in size and pubescence. Those of the Saudi form are about 4cm (1.5") in diameter. The form from southern Yemen has flowers up to 8.5 cm (3") with very prominent pubescence in the throat (Fig.20). The petals are bright pink with some fading toward the white throat, which has usually one nectar guide per petal. The follicles (at least of the Yemeni form) are much larger than those of A.obesum and dark mahogany in color; the seeds are correspondingly large.

Both the Yemeni and Saudi forms of this species have only recently become readily available. They seem to be as easy to grow as the other taxa. The common cultivar sold as A.obesum 'Singapore' may be a Yemeni A.arabicum (see the next installment).


Adenium socotranum
Adenium socotranum Vierh.(Fig.22) is endemic to the island of Socotra in the Indian Ocean south of the Arabian peninsula. It is the giant of the genus, forming a conical trunk/caudex several metres tall and up to 2.4 m (eight feet) in diameter (Balfour, 1888; Rowley, 1983). It resembles a miniature baobab. The stems of the single clone available to us are strongly vertical and distinctly striated, a unique character in the genus. The leaves are about 12 cm (4.7") long, are widest (4 cm, 1.6") near the tip, and are dark green with a white midrib and light major veins. Balfour described the flowers as bright pink and twice the size of those of "mainland A.multiflorum" (he considered the Socotran population to be of this species), which would make them 10-13 cm (4-5") in diameter.

This magnificent species is virtually unknown in cultivation, so its performance cannot be described with confidence. The six-foot tall specimen in Hanson's collection is in leaf only during the summer months, leafing out even later than A.boehmianum. It has not flowered in seven years, although it did once when Frank Horwood owned it. A specimen at the Huntington Botanical Gardens has also not flowered to date. The only other cultivated specimen known to us is in the collection of the Botanical Research Institute, Pretoria, South Africa (Myron Kimnach, written comm.).

สรุปจากบทความก็คือ ตอนนี้ชวนชมที่มาจากArabian Peninsula ไม่ว่าจะเป็นtree formจากที่ราบลุ่ม หรือเป็นทรงพุ่มเตี้ยจากเขตภูเขาแห้งแล้ง ถูกจัดไว้ใต้ A. arabicum ทั้งสิ้นครับ แต่เท่าที่ผมติดตามศึกษาบทความต่างๆมา ไม่พบว่ามีการศึกษาแบ่งย่อยarabicumเหล่านี้อย่างละเอียด หรือแบ่งเป็นsubspecies หรือ variety ไม่แน่ในอนาคตอาจมีการแบ่งarabicum ย่อยออกไปได้ ซึ่งหนึ่งในฟอร์มที่แบ่งออกมาก็อาจเป็นฟอร์มเพชรบ้านนาของเรา แต่นักวิชาการต้องเห็นว่าความต่างของ arabicumทั่วไปกับเพชรบ้านนามีเยอะพอที่จะแบ่ง โดยเฉพาะลักษณะดอก และแหล่งธรรมชาติ (type l
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 68
   ocality) ของเพชรบ้านนาจะต้องมีการยืนยันที่แน่นอนครับ และถ้าจะให้ละเอียด ต้องดูอีกว่ามีnatural barrier เช่นแนวเขาหรือทะเลทราย ที่จะปิดกั้นgene flow ระหว่างเพชรบ้านนาในธรรมชาติและarabicumฟอร์มอื่นๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดspeciation หรือไม่ และยังอาจดูว่าช่วงเวลาที่ออกดอกต่างกันอย่างไร เป็นต้น เพราะถ้าพบว่าไม่มีความแตกต่างเพียงพอ ก็คงจะให้specific, subspecific, หรือ varietal rank ไม่ได้ครับ

อย่างที่เจ้าบ้านกล่าว คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ไปศึกษาครับ ผมเองในฐานะนักชีววิทยาด้านพืชคนหนึ่ง ก็อยากไปศึกษาถึงแหล่งธรรมชาติให้รู้แล้วรู้รอด แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายด้วยเรื่องเงินทุนและความปลอดภัยครับผม

โดย: BEE [27 ส.ค. 50 23:54] ( IP A:139.222.238.137 X: )

ความคิดเห็นที่ 69
   ผมเคยเห็นเวป ฯ ซื้อ - ขาย ชวนชมของต่างประเทศเวป ฯ หนึ่ง เขาเรียกชื่อ Arabicum ที่เขาขายในเวป ฯ เป็น 2 ประเภทคือ
1 Saudi Type
2 Yamen Type
ซึ่ง Saudi Type จะมีรูปทรงโขด เหมือนกับยักษ์บ้านเรา
ส่วน Yamen Type จะมีรูปทรงโขด เหมือนกับไทย โซโค บ้านเรา
เสียดาย ผมไม่ได้เก็บ url เวป ฯ นั้นไว้ กลับไปหาอีกครั้งไม่เจอแล้ว
.
โดย: 151 [28 ส.ค. 50 2:09] ( IP A:58.8.151.193 X: )

ความคิดเห็นที่ 70
   จากคห.ที่ 69
Saudi Type คือ อะราบิคั่ม ประเภทยักษ์ต่างๆที่มีอยู่ในเมืองไทยทั่วๆไป
Yamen Type ก็คือ อะราบิคั่ม ที่มีรูปทรงเหมือนโซโค เช่นไทยโซโค
ดังนั้นเพชรบ้านนา ก็คือ อะราบิคั่มที่มีรูปทรงเหมือนโซโค แต่ไม่เหมือนกับตระกูลบางคล้า เพราะเพชรบ้านนา กิ่งตอน กิ่งเสียบ สามารถสร้างหัวสะสมอาหารได้ แต่ตระกูลบางคล้าสร้างไม่ได้
ดังนั้น ไทยโซโค ตอนนี้มี 2 ประเภท คือแบบ กิ่งเสียบกิ่งตอนสร้างหัวสะสมอาหารได้ กับอีกประเภท กิ่งเสียบกิ่งตอนสร้างหัวสะสมอาหารไม่ได้
โดย: QQ [28 ส.ค. 50 16:08] ( IP A:222.123.196.27 X: )

ความคิดเห็นที่ 71
   จะเรียกอะไรก็เรียกกันไปเถอะครับเพราะคงไม่เกี่ยวกับผมเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าคนที่มาศึกษาที่หลังเขาจะงงงง ว่าไอ้โซโคทานั่ม มัมมีลักษณะอย่างไรกันแน่ เวลาก็ผ่านมาเป็น ปีแล้ว ก็ไม่รู้จะสรุปกันอย่างไร เพราะสมัยก่อน มีคนเอาอะราบิคั่มมาตั้งชื่อว่ายักษ์ซาอุทั้งที่ไม่ได้นำมาจากซาอุ มันก็เลยสับสน จึงให้ผู้รู้ในสมัยนั้นลองพิจารณาดูจึงได้แนวทางโดยภาพรวมๆน่าจะเป็นโซโฉพาะถิ่นต่อมาได้เรียกว่าไทยโซโค เพราะผู้ซื้อต่างประเทศเขาเรียกกันอย่างนั้นถ้ามีนักวิชาการคนไหน ต้องการไปสำรวจ ตอนนี้มีผู้อาษานำทางไปให้คิดว่าท่านยังพอจำทางได้ ถ้าไม่ถูกชาวต่างชาติขุดไปเสียก่อน คิดว่าต้นแม่ยังคงอยู่ที่เดิม
โดย: เทิดเกียรติ 208 [28 ส.ค. 50 20:22] ( IP A:203.146.63.182 X: )

ความคิดเห็นที่ 72
   ฝากลิ้งค์รูปจาก Socotra (par Alain Christophe) มาให้ช่วยกันดูครับ

http://perso.orange.fr/plantes.succulentes/photosdevoyages/socotra.html
โดย: ติดตาม [29 ส.ค. 50 19:22] ( IP A:158.108.210.91 X: )

ความคิดเห็นที่ 73
   หวังผลขายสายพันธแท้ชัดๆเลยพี่น้องคนรักโซโค ทั้งที่สายพันธแท้ไม่ใด้สวยงามเลย
โดย: ตนรักโซโค [31 ส.ค. 50 17:34] ( IP A:125.27.112.116 X: )

ความคิดเห็นที่ 74
   อย่างที่ได้เกริ่นไว้ในกระทู้อื่น จริงอยู่ที่ว่าผมว่าจะนำsocoแท้มาแบ่งขายให้คนอื่นในเมืองไทยได้เล่น แต่ผมไม่ใช่นักธุรกิจ เป็นเพียงคนรักต้นไม้คนหนึ่งที่อยากหาสายพันธุ์ใหม่ๆเข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทยอยู่เสมออยู่แล้ว โดยเฉพาะชนิดที่มีการพูดถึงบ่อยๆ แต่อาจมีรายได้และกำไรได้คืนต้นทุนบ้างเล็กน้อยเป็นธรรมดา เพราะบอกได้เลยว่าราคามาต้องสูงแน่นอน และก็มีความเสี่ยงในการขนส่ง การที่คุณตนรักโซโคออกมาเขียนแบบนี้ ผมไม่รู้ว่าพาดพิงถึงผมหรือท่านใดก็ตาม แต่ตัวผมรู้สึกเสียกำลังใจมาก เพราะที่ผมกำลังสั่งไม้เข้ามานั้นผมรักไม้ของผมทุกต้น ซึ่งผมไม่จำเป็นต้องขายเลยก็ได้ครับ เพราะผมไม่ได้กะหารายได้อะไรในส่วนนี้อยู่แล้ว เก็บหมดเลยก็ยังได้ครับ แต่ผมก็จะแบ่งขายให้คนที่เห็นความงามของไม้ตัวนี้ที่เขาอยากทดลองปลูกและศึกษาเขาจริงๆครับ

ส่วนตัวผมข้อมูลนี้เสนอตามความจริงเท่านั้น เพราะเชื่อว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย ท่านจะเชื่ออย่างไรอยู่ที่ท่านจะคิดครับ ผมไม่โกรธ และก็ไม่กลัวที่จะใช้ชื้อจริงๆของผมลงในบอร์ดนี้ เพราะอย่างที่บอก ผมเป็นนักวิชาการ และเป็นนักเล่นสมัครเล่น ไม่ใช่นักธุรกิจครับ
โดย: BEE [31 ส.ค. 50 21:48] ( IP A:139.222.238.83 X: )

ความคิดเห็นที่ 75
   ความเห็นคห.73 น่ารังเกียจในสายตาคนรักต้นไม้ มีแต่พวกใช้ชื่อโซโค(แต่ตัวไม่ใช่)มาหากินเท่านั้นถึงจะเห็นดีเห็นงามด้วย
ผมชอบเพชรบ้านนา ซื้อเก็บไว้เยอะครับ และยังเก็บต่อไป และยอมรับแต่แรกแล้วว่าเค้าเป็นได้แค่อะราบิคั่มชนิดแคระกลายพันธุ์ หาใช่โซโคไม่
เข้ามาให้กำลังใจคุณBEEครับ
โดย: นำชัย203 โทร 089-8764328 [1 ก.ย. 50 11:01] ( IP A:222.123.138.218 X: )

ความคิดเห็นที่ 76
   ผมก็อยากได้นะพี่ Bee...แต่เป็นต้นเพาะเมล็ด..ผมคงสู้ราคาไม่ไหว
ถ้าเป็นกิ่งเสียบพอมีหวัง...สำหรับ..มนุษย์เงินเดือนอย่างผม
โดย: ภูชิต 160[084-641-1595] [1 ก.ย. 50 12:17] ( IP A:61.90.222.98 X: )

ความคิดเห็นที่ 77
   ในฐานนะที่ผมเป็นผู้เปิดประเด็นในเรื่องนี้ จากที่ผมเฝ้าดูความเป็นไปของกระทู้มาทุกวัน มันบ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง
1.การแสดงความเห็นในบางเรื่องไม่สามารถบอกชื่อที่แท้จริงได้ เพราะขนาดไม่ลงชื่อยังถูก...........ขนาดนี้
2.หลายๆคน มองแต่ผลประโยชน์มากกว่าเหตุผลทางวิชาการ ไม่ยอมรับความจริง
3.โดยส่วนตัวผมก็ไม่ชอบการแสดงความคิดเห็นในกระทู้ โดยไม่ลงชื่อจริง แต่ก็ขอเว้นไว้ในกรณีที่ไม่ได้พาดพิงหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย(การแสดงความเห็นทางวิชาการ)ย้อนกลับไปดูข้อ1
4. หลายๆท่านที่เข้ามาดูกระทู้นี้ ทราบโดยใช้วิจารณญาณ ดีอยู่แล้ว ว่าอะไรเป็นอะไร
5. การยอมรับความจริงไม่ได้มีผลต่อวงการ เพราะชวนชม Thai Soco มีเสน่ห์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร และความชื่นชอบในตัว Thai Soco เป็นการชื่นชอบในตัวไม้ มิได้ชื่นชอบในชื่อ ที่ต้องเป็น Adenium Socotranum ฉนั้นการยอมรับและการเปิดเผยให้ทราบอย่างแพร่หลาย จึงน่าจะเป็นผลดีมากกว่า
สุดท้ายขอชื่นชมคุณ BEE มากครับที่ให้ข้อมูลทางวิชาการที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ซึ่งหลายๆคนก็น่าจะได้ข้อมูลเหล่านี้ไปตัดสินโดยใช้วิจารณญาณของแต่ละท่านเองครับ
โดย: ชวนชมวิชาการ [3 ก.ย. 50 16:38] ( IP A:125.26.29.197 X: )

ความคิดเห็นที่ 78
   เมื่อสมัยก่อนมนุษย์ยังเชื่อว่าโลกแบนเลย ต่อมาพิสูจน์ได้ จึงเชื่อว่าโลก มันไม่แบนอย่างที่คิด ......ลองคิดดู...เรื่องผลประโยชน์เป็นเรื่องธรรมดา ของผิดกฎหมาย..ซื้อยาก...ซื้อแพง...ก้ต้องขายแพง
แต่จะเลี้ยงนานขนาดไหนจึงจะสวยเท่าในเกาะโซโคต้า..อันนี้ต้องติดตามกันต่อไป...ไม่ใช่ผมไม่ชอบนะครับ ผมก็มีเหมือนกัน..จะได้ผลิตขายกับเขาบ้าง..แต่ตอนนี้ขอเก็บก่อนเพราะขายไปเกือบหมดแล้ว...อย่าเถียงกันมาก..เล่นๆกันไปเถอะ...ของดีๆทั้งนั้น โซโคแท้จากเกาะโซโคต้านำมาปลูกในเมืองไทย จะได้สวยงามเหมือนในเกาะโซโคต้าหรือเปล่าก็ไม่รู้ ...ต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์..5...10...15...20...25...30...100
โดย: เทิดเกียรติ 208 [3 ก.ย. 50 20:59] ( IP A:203.146.63.183 X: )

ความคิดเห็นที่ 79
    อย่าเถียงกันมาก..เล่นๆกันไปเถอะ 
ขอย้ำนะครับคุณเทอดเกียรติ ว่า นี่คือการแสดงความคิดเห็น ไม่ได้เถียงกัน

จะเล่นอะไร จะเรียนรู้อะไร ต้องรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เรียนรู้กันผิดๆสุดท้ายก็บอกว่า เล่นๆกันไปเถอะ
โดย: ชวนชมวิชาการ [4 ก.ย. 50 18:18] ( IP A:125.26.31.1 X: )

ความคิดเห็นที่ 80
   อ่านทุกๆ ความคิดเห็น แล้วได้ความรู้ดีครับ
โดย: tonya 410 [4 ก.ย. 50 21:14] ( IP A:58.8.123.24 X: )

ความคิดเห็นที่ 81
   แม้ว่าจะใหม่ แต่เมื่อได้อ่านทุกๆ ความเห็นแล้วผมว่ามีประโยชน์มากครับ ได้รู้ในสิ่งที่อยากรู้ ควรรู้ ส่วนความคิดเห็นไว้ในใจ เหมือนๆ ทั่วไป บางท่านพอใจ ทรงสูง บางท่านพอใจทรงบอนไซ อีกไม่นานก็พัฒนาออกมาเป็นบทสรุป
โดย: lungyai808 [5 ก.ย. 50 14:47] ( IP A:203.150.49.101 X: )

ความคิดเห็นที่ 82
   ที่ผมพูดไปเพราะมันยังพิสูจน์อะไรไม่ได้ว่ามันเป็นสายพันธุ์อะไร แล้วคุณจะให้เรียนรู้อะไร คุณเป็นนักวิชาการคุณอยากเรียนรุ้ก็ไม่มีใครไปว่าอะไร แต่ถ้าพิสูจน์อะไรไม่ได้ก็อย่าพึ่งสรุป เพราะพวกมือใหม่มีมากอาจจะเชื่อไปตามนักวิชาการเสียหมด สมัยที่ผมเรียนอาจารยืผมก้เป็นนักวิชาการทุกคนบางเรื่องที่สอนผมผมก็ไม่เชื่อเหมือนกัน
โดย: เทิดเกียรติ 208 [9 ก.ย. 50 8:46] ( IP A:203.146.63.183 X: )

ความคิดเห็นที่ 83
   ย้อนกลับมาที่บรรดา Thai soco (เพชรบ้านนา มงกุฎทอง มงกุฎเพชร เขาหินซ้อน ชฎาเพชร บางคล้า S1) หากทุกท่านไปศึกษาแหล่งที่มา จะพบว่า Thai soco ทุกชนิด ส่วนมากจะบอกไว้ชัดเจนว่ามีการนำกิ่งหรือเมล็ดมาจากประเทศซาอุดิอาราเบียหรือประเทศอื่นๆบนแผ่นดินใหญ่ ดังนั้นจึงไม่มีความเป็นไปได้เลยว่า Thai Soco จะเป็นตัวเดียวกับ Adenium Socotranum (ก็อย่างที่บอก Adenium Socotranum พบเฉพาะที่ เกาะ Socotra(ย้ำว่าเฉพาะบนเกาะ)ของประเทศ เยเมน เท่านั้น ไม่พบบนแผ่นดินใหญ่ ) อาจจะมีใครเอาต้นจากเกาะไปปลูกทิ้งบนแผ่นดินใหญ่ก็ได้ คิดเล่น ๆ นะครับ อย่างที่พี่เทิดเกียรติ 208 บอกครับ บางทีอะไรบางอย่างก็พิสูจน์ยากเหมือนกัน อาจจะใช้ความน่าจะเป็นได้ และข้อพิสูจน์ทางพันธุกรรมได้ ผมรบกวนท่านนักวิชาการหน่อยครับช่วยแยกสายพันธุ์ของไทยที่มีอยู่มากมายให้เป็นหมวดหมู่หน่อยครับ ตอนนี้ก็วุ่นวาย และไอ้เจ้ากิ่งแม่กิ่งลูกอะไรประมาณนั้นให้ด้วยครับ (ไม่ได้กวนนะครับ แต่ทุกวันนี้สับสนครับ)
โดย: ต้อม_592 [24 ก.ย. 50 16:05] ( IP A:61.19.47.117 X: )

ความคิดเห็นที่ 84
   Adenium Socotranum กับ Thai soco นั้นไม่เหมือนกันไม่ไช่ชนิดเดียวกันและมันก็อยู่กันคนละที่ครับ แต่ว่ายักก์ซาอุของเรามันมาจากแหล่งเดียวกัน เพียงแต่ว่ามันหลากหลายแค่นั้นเอง..ความจิงแล้วThai soco มันก็เป็นสาย arabicum สายหนึ่งนั้นแหละซึ่งบางตัวแตกต่างจากกลุ่มเช่นทรงต้นหรือลักษณะของลำต้นซึ่งมันก็พบได้ยากในแถบซาอุตอนใต้ แต่ผมก็เชื่อว่ามันเป็นชวนชมคนละชนิดแตกแยกต่างหากจากกันและผมสนใจแค่ความสวยงามโดดเด่นของแต่ละตัวแค่นั้นเอง..
โดย: กร 1062 [7 ต.ค. 50 13:10] ( IP A:203.146.63.184 X: )

ความคิดเห็นที่ 85
   ความคิดเห็นที่ 79
อย่าเถียงกันมาก..เล่นๆกันไปเถอะ
ขอย้ำนะครับคุณเทอดเกียรติ ว่า นี่คือการแสดงความคิดเห็น ไม่ได้เถียงกัน

จะเล่นอะไร จะเรียนรู้อะไร ต้องรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เรียนรู้กันผิดๆสุดท้ายก็บอกว่า เล่นๆกันไปเถอะ


โดย: ชวนชมวิชาการ [4 ก.ย. 50 18:18> ( IP A:125.26.31.1 X: )

เห็นด้วยกับคุณเทิดเกียรติ 208 ครับ
คุณนักวิชาการ บางครั้งมันก็มากไป จนเป็นนักวิชาเกินนะครับ ควรอยู่ในกรอบครับ เล่นๆไปเถอะครับเพราะเราทุกคนที่เล่นก็ต่างชอบไม้พวกนี้เหมือนกัน
โดย: นัฐพงษ์ [19 พ.ย. 50 14:43] ( IP A:210.213.26.122 X: )

ความคิดเห็นที่ 86
   ขอขอบคุณ คุณชวนชมวิชาการที่ให้ความรู้และเป็นกำลังใจให้ครับผมเพิ่งหัดเล่นอยากรู้ในเรื่องพวกสายพันธ์ แต่ที่ผมหัดเล่นผมเล่นตามที่ชอบ โขดสวย สีถูกใจ ถูกแพงผมซื้อหมด ขณะนี้สงสารฮอลแลด์ถูกเสียบมากอาจมีส่วนกลายพันธ์ได้นะครับ เป็นความรู้สึกส่วนตัวครับ
โดย: นายประหยัด ครัวภูพญา 1531 [7 ก.พ. 51 13:24] ( IP A:203.113.17.165 X: )

ความคิดเห็นที่ 87
   ข้อมูลบอกว่า...โซโคทรานั่ม คือกลุ่มสายพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่มีลำต้นสูงใหญ่จนเป็นเอกลักษณ์และเป็นชวนชมเฉพาะถิ่น กำเนินขึ้นเฉพาะบนเกาะโซโคทร้า ประเทศเยนเมนเท่านั้น...แต่ก็สามารถแพร่พันธุ์ไปได้ทั่วโลก(ไม่ได้หมายถึงทุกตารางนิ้วนะครับ) เหมือนกัน...มันอาจจะไปผสมกับอราบิคั่มที่แพร่พันธุ์มากอยู่แล้ว แล้วก็กลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ...ก็ไม่แน่ Thai Socotranium อาจจะมาจาก Arabicum + Socotranium อยากให้ท่านที่ชำนาญด้าน DNA เกี่ยวกับพืชลองหาดู น่าจะเชื่อได้มากที่สุดครับ

นักวิชาทั้งหลายก็หลงทางกันได้เหมือนกันทั้งไทยทั้งฝรั่งครับ คนที่ยึดฝรั่งมากกว่าไทย ก็ไม่อยากให้ปักใจเชื่อเขาหมดทุกอย่างเลยครับ ฝรั่งเขาก็ผิดพลาดได้เหมือนกันเน๊าะ...จะว่าไปก็ แต่ก่อนโลกเคยแบน ต่อมาก็ว่าโลกเป็นทรงกลม แต่ถ้าใครบอกว่าโลกกลมเฉยๆ หรือกลมสนิท ผมก็ไม่เชื่อเหมือนกันนะ

วิชาการต่างๆ มีมากมาย...อะไรที่พิสูจน์ไม่ได้ชัดเจน...ก็ไม่จำเป็นต้องไปเชื่อตามเขาจนสนิทจนเต็ม 100 % นะครับ เหลือไว้ให้ตนเองบ้าง จะได้ไม่ผิดหวังจนหมดสิ้นนะครับ

คุยกันดู...แสดงความคิดเห็นกันไป แต่ก็อย่าให้ถึงกับซีเรียสจนเป็นปัญหาหมางใจกัน...เลยนะครับ เพิ่งมาอ่านเจอ ขอแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
โดย: farmthai [7 ก.พ. 51 14:45] ( IP A:192.55.18.36 X: )

ความคิดเห็นที่ 88
   ผมได้อ่านแล้วก็มีความรู้หลากหลาย ได้แนวคิด พอสรุปได้ว่า โซโคทรานั่น มีแต่ที่เกาะโซโคต้า แล้วทำไมเราต้องให้เพชรบ้านนาที่มีแต่ในประเทศไทย ไปเป็นตระกูลโซโคทรานั่น หรืออราบิคั่มล่ะ ก็น่าตั้งเป็น ไทยอะเดียนั่ม ไปเลยเพื่อประกาศให้โลกรู้ว่าเป็นชวนชมทีมีแต่ในไทย ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ดีกว่าไหม
โดย: โอ1355 [12 ก.พ. 51 18:06] ( IP A:202.183.239.136 X: )

ความคิดเห็นที่ 89
   หลายวันแล้วครับที่ผมได้ตอไทยมา แล้วนำมาเสียบกิ่งราชินี เพียงแค่อยากจะมีไม้สวยๆ เหมือนคนอื่น แต่พอทำไป กลับมานึกเสียดาย ว่าชวนชมตอไทยเรา ก็มีความสวยงามตามแบบฉบับของเค้าเช่นกัน ซึ่งไม่เหมือน ชวนชมสายพันธ์อื่น ที่กล่าวมาในกระทู้นี้ ผมมานึกดูแล้ว ผมสงสารชวนชมไทยเรา ที่มีค่าเพียงผู้ส่งอาหารเลี้ยงชวนชมที่มาจากต่างประเทศ ไม่มีโอกาศได้ผลิดอกออกผล โชว์ความสวยงามของตนเองบ้าง ไม่ต่างจากดาราคนไทย หน้าไทยก็เป็นได้แค่โจร ลูกครึ่งหน่อยได้เป็นพระเอกนางเอก ถ้าแน่จริง ต้องชวนชมไทยแท้ๆๆๆ ฝรั่งรู้จักชอบ ไทยโซโค ซึ่งเป็นของไทยแค่ชื่อ เค้าจะรู้หรือเปล่า ว่าชวนชมไทยแท้ หน้าตาเป็นไง ผมก็ไม่ทราบว่าชวนชมตอไทยนั้นที่จริงได้มาจากไหน ของไทยหรือเปล่า แต่เราก็ยอมรับว่ามันเป็นของคนไทย ไม่ใช่หรือ ผมว่าผมทราบแค่นี้ว่าเรามีของเราเหมือนกัน ผมก็ภูมิใจมากแล้ว ไม่ต้องคิดไรมาก เหมือนปี่ ขลุ่ย ระนาด ไม่เห็นมีใครอยากรู้ว่าใครคนคิด จะไปศึกษาแต่กีตา ว่าใครทำ ระหว่างอินเดียกับยุโรป (ไม่ได้ลบหลู่ผมก็เล่นดนตรีสากลเหมือนกัน) ฝากเป็นข้อคิดครับ ผมว่าท่านที่ชอบชวนชมบ้านเราคนใหญ่คนโตทั้งนั้น ยังไงผมขอฝากสายพันธ์ไทยไว้ให้ลูกหลานได้ดูด้วยนะครับ
โดย: อนุรักษ์นิยม [12 ก.พ. 51 23:48] ( IP A:203.113.56.72 X: )

ความคิดเห็นที่ 90
   เป็นกระทู้ที่ให้ความรู้มากๆครับ
โดย: ยังไม่ได้สมัครสมาชิก [13 ก.พ. 51 11:25] ( IP A:202.149.25.241 X: )

ความคิดเห็นที่ 91
   อ่านซะเมื่อยตาเลย พอจะจับใจความ ได้ว่า เรื่องของเรื่องเจ้าฝาหรั่งมันดันไป นิยาม คำว่าโซโค ว่าต้อง อยุ่ที่เกาะ นั่นซะ ไม่ได้ใช้รูปพันธุ์สันฐานของชวนชม มาแบ่ง นั่นเองไม่ได้ใช้ลักษณะที่ปรากฏให้เห็น ดันทะลึ่ง ไปแบ่งว่าเกิดที่เกาะนั่นเท่านั้น อย่างพี่เทอดเกียตริบอกก็ถูก ใครจะไปเชื่อ ว่าจะไม่มีพายุเฮอริเคนพัดไปตกที่อื่น หรือนกไม่พาไป ไม่ต้องอื่นไกล หรอก ค. คนนี่และ คนที่เกาะ นั่นจะ ไม่ไปเที่ยวที่อื่นหรือย้ายถิ่นฐานบ้างหรือ เพราะมันไม่ได้หมายความว่ามันไปขึ้นที่อื่นไม่ได้ ใครเอาไปปลูที่อื่นแล้วมันต้องตายซะเมื่อไหร่ ต้องขึ้นที่เกาะนั้นเท่านั้น ดังนั้น ธรรมชาติ มันสอนให้พืชและสัตว์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายกระจายพันธุ์และสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมอยู่แล้วถ้าในสัตว์ก็บอกว่ากันเลือดชิด ซึ่งจะอ่อนแอต่อโรค ดังนั้น ไม่เห็นจะแปลก ถ้าต้นแบบนี้จะมีที่ซาอุ แต่ที่แปลก ก็มีอยุ่ว่า ฝาหรั่งมันแบ่งแบบนี้ทำไม กันเนี่ยอิๆๆๆๆๆๆ
โดย: อ้อมเอง [14 ก.พ. 51 21:58] ( IP A:203.107.230.2 X: )

ความคิดเห็นที่ 92
   ผมลองไปพิจารณาดูตามที่คุณเทอดเกียรติ พยายามจะไห้เห็นภาพเรื่องพายุฮอริเคน สุปได้เลยครับไม่มีพายุเฮอริเคนลูกไหนสามารถพัดต้นชวนชม หรือแม้แต่เมล็กชวนชม จากเกาะโซโคต้า ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออก ของตะวันออกกลาง ไปถึง ประเทศซาอุดิอาระเบียซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของตะวันออกกลางได้เลยครับ (ถ้าใครมีความรู้เรื่องอุตุนิยมวิทยา จะทราบดี)และก็คงไม่มีนกตัวใดอุตสาห์คาบเมล็ดไปไกลขนาดนั้น
คุณอ้อมเองครับ จากที่คุณกล่าว
"เรื่องของเรื่องเจ้าฝาหรั่งมันดันไป นิยาม คำว่าโซโค ว่าต้อง อยุ่ที่เกาะ นั่นซะ ไม่ได้ใช้รูปพันธุ์สันฐานของชวนชม มาแบ่ง นั่นเองไม่ได้ใช้ลักษณะที่ปรากฏให้เห็น ดันทะลึ่ง ไปแบ่งว่าเกิดที่เกาะนั่นเท่านั้น"
คุณคงจะไม่มีความรู้เรื่อง พฤกศาสตร์เอาซะเลย เกาะเค้าชื่อเกาะโซโคต้า ต้นไม้หลายชนิดที่นั่นเป็นพืชเฉพาะถิ่น หมายความว่า ไม่พบขึ้นหรือเจริญพันธ์อยู่ที่อื่น การตั้งชื่อจึงจำเพาะตามสายพันธุ์ โดยใช้หลักการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ โดยพิจารณาจากลักษณะทางพันธุกรรม อาจใช้ชื่อสถานที่ตามหลังชื่อสายพันธุ์(อาจใช้ชื่ออื่นก็ได้เช่น ชื่อผู้ค้นพบ หรือชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการตั้งให้เป็นเกียรติหรือเป็นอนุสรณ์แก่สิ่งนั้น) ลองพิจารณาดูใหม่นะครับ
ขอบคุณครับ
โดย: ชวนชมวิชาการ [25 ก.พ. 51 11:08] ( IP A:125.26.31.151 X: )

ความคิดเห็นที่ 93
    ผมว่าอย่าไปคิดมากเลยครับ ผมคิดว่าเล่นที่ความสวยงามดีกว่าครับ ขืนเป็นแบบนี้ก็ไม่รู้จักจบสิ้น ช่วยๆ กันพัฒนาสายพันธุของเราให้สวยงามดีกว่า
ผมว่าทำให้เหมือนกับกล้วยไม้ดีกว่า ไม่ว่าจะเพาะเมล็ดมากี่รุ่น จะกลายพันธุ์ขนาดไหน เช่น เอารองเท้านารีเหลืองตรัง มาผสมกัน ไม่ว่าจผสมข้ามต้น ผสมตัวเอง ดอกออกมาสวยมาก สวยน้อย ก็ยังเรียกว่ารองเท้านารีเหลืองตรัง แบบนี้ดีกว่าครับไม่งงดี คนเล่นก็มีความสุ ไม่ต้องกังวลเรื่องสายพันธุ์อะไรมากนัก ของแค่ในแต่ละชุดที่เพาะเมล็ดออกมา ได้ไม้ที่สวยก็พอใจแล้วครับ

ใครเห็นด้วยกับผมบ้าง
โดย: art [25 ก.พ. 51 13:19] ( IP A:222.123.175.51 X: )

ความคิดเห็นที่ 94
   ไม่ต้องคิดอะไรมากครับแม่แต่คนด้วยกันในประเทศเดียวกันแค่อยู่กันคนละภูมิปะเทศภูมิอากาศแตกต่างกันยังมีความแตกต่างกันยังมีหลายเผ่าพันธุ์แต่ทั้งหมดนั้นล้วนอยู่ร่วมกันได้ชวนชมทั้งหมดที่ท่านกล่าวกันมาผมเชื่อว่าจะมาจากพ่อแม่พันธุ์ต้นเดียวกันเป็นแน่แท้เพียงแต่ปลิวไปเกิดกันคนละที่และต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและให้ดำรงชีวิตเมื่ออยู่หลายๆชั่วอายุเข้าก็เลยเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันมาให้ได้ศึกษาและมาถงเถียงกันนี้แลเราควรจะดีใจที่มีชวนชมสวยๆงามๆที่มีความหลากหลายมาให้เราได้ปลูกเลี้ยงกันทุกวันนี้
โดย: ชวนชมด้วยใจ [26 ต.ค. 51 13:35] ( IP A:222.123.98.21 X: )

ความคิดเห็นที่ 95
    โอ้โฮ...ยังกะวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทยแน่ะ...
ตอนนี้ยังสรุปไม่เลยว่า ไทย-พม่าในอดีต ใครบุกใครก่อน..ใครแย่กว่าใคร?
โดย: V-วังทองหลาง [13 ก.พ. 52 16:36] ( IP A:124.122.150.129 X: )

ความคิดเห็นที่ 96
   ขณะนี้โซโคทานั่มยักษ์ซาอุเหลือราคาต้น/กิ่งตอนราคาเท่าไหร่คะ
โดย: sumonmal13@hotmail.com [19 ก.พ. 52 17:24] ( IP A:125.26.225.111 X: )

ความคิดเห็นที่ 97
   โซโคทรานั่มที่มาจากเกาะโซโคตร้า ถ้าเพาะเมล็ดออกมาแล้วก็ขอแบ่งสักต้น2ต้นจะได้ไหมถ้าได้ติดต่อ 089-924-6527 อู๊ด
โดย: chaowarut_bhotmail.com [7 ก.ค. 52 10:54] ( IP A:58.11.21.129 X: )

ความคิดเห็นที่ 98
   ก่อนอื่นบอกก่อนว่าผมมือใหม่ครับ อ่านกรทู้นี้แล้วตื่นเต้นมาก ไดความรู้มาก อ่านแล้วอยากได้มาเลี้ยงสักต้น แต่อยากให้พี่ที่มีประสบการณ์ แนะนำว่าควรเริ่มอย่างไร ระหว่าง ต้นกับเมล็ด แล้วดูแลอย่างไรให้สวย เทคนิคการดัด ปริมาณการให้ปุ๋ย อะไรแบบนี้ ฝากด้วยน่ะครับ
ปล. ยังไงชวนชมก็สวยไม่เหมือนกันทุกต้น
โดย: ลูกคอมฯ [17 ก.ค. 52 22:49] ( IP A:124.157.185.165 X: )

ความคิดเห็นที่ 99
   สวัสดีค่ะ เราก็มือใหม่เมือนกัน รักชวนชมเป็นชีวิตจิตใจ ที่บ้านมีไม่มาก ประมาณ 100กว่าต้น แต่ไม่ค่อนเจ๋งเท่าไร อยากได้พันธุ์ที่เสวนากันอยู่สักต้น เพราะตะรอนไปทั่วเนต เห็นรูปภาพสวยๆดี
มีความฝันว่า ต่อนี้ไป จะสะสมเจ้าชวนชมไปเรื่อยๆ เถอะน่ะ
สักวันต้องมีพันธุ์ดีๆ สวยๆ ไว้ครอบครอง
โดย: ลักกี้พิ้ง [18 ส.ค. 52 13:24] ( IP A:113.53.207.248 X: )

ความคิดเห็นที่ 100
   ประวัติไทยโซโคพันธุ์ต่างๆที่ขายอยู่ในท้องตลาด ถ้าอยากรู้ที่มาที่ไปก็ลองไปอ่านที่ KT ในคนรักโซโคดูสิครับ
โดย: คนพเนจร [8 ก.ย. 52 20:30] ( IP A:58.11.19.53 X: )

ความคิดเห็นที่ 101
   
โดย: ชวนชื่น [30 ก.ย. 52 15:16] ( IP A:118.172.229.165 X: )

ความคิดเห็นที่ 102
   ตอนนี้คนไทย จะได้เห็นต้นจริงแล้วครับ จากเกาะโซโคต้า ของแท้แน่นอน ต้นใหญ่ที่สุดที่เอามาได้ ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ถูกกฎหมายครับ มีใบอนุญาติครบ รูปขอเก็บไว้ก่อนครับ เดียวได้ดูแน่น
โดย: kris@diamondheadplants.com [29 ต.ค. 52 6:29] ( IP A:125.24.202.198 X: )

ความคิดเห็นที่ 103
   แน่ใจได้อย่างไรว่าไอ้ตัวสองขาอย่างเราเมื่อร้อยปีก่อนจะไม่ได้ไปที่เกาะนั้นแล้วดันหยิบเมล็ดมา จะอะไรก็ช่างของไทยสวยครับ สวยก็แปลว่าสวย ครับ ไม่มีอะไรมากอย่าตามฝรั่งเขาเลย เเค่เขานิยามเท่านั้นเอง
โดย: 4444@hotmail.com [30 ธ.ค. 52 14:28] ( IP A:125.26.145.193 X: )