วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชวนชม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenium obesum Balf., ชื่อสามัญ: Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose (กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย ถิ่นกำเนิดของชวนชมมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ. 2305 แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนในประเทศไทย มีการพบชวนชมตั้งแต่ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไร สำหรับในประเทศไทย ชวนชมที่เป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน คือ ชวนชมสายพันธุ์ โซโครทรานั่มและอาราบิคั่ม หรือ ชวนชมยักษ์ซาอุ ชวนชมยักษ์ซาอุ ชวนชมสายพันธุ์นี้มีเอกลักษณ์ที่สวยงามต้นใหญ่ อวบ กิ่งก้านและดอกดกมาก พบมากในอำเภอ คง จังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็น4ตระกูลหลัก ได้แก่ เพชรเมืองคง เพชรหน้าวัง ยักษ์ดำ และ ราชินีพันดอก ส่วนโซโคทรานั่ม มีเอกลักษณ์คือ รากใหญ่ กิ่งสั้น แตกพุ่มคล้ายบอนไซ


สายพันธุ์ชวนชมมี 2 กลุ่ม

กลุ่มแรกพบตามแนวฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกา มี  7  สายพันธุ์


1. Adenium obesum Balf. f.  เป็นพวกไม้สีสายพันธุ์ฮอลแลนด์ต่าง ๆ กลุ่มนี้ในเมืองไทยนิยมเล่นสีของดอกเป็นส่วนใหญ่

        มีถิ่นกำเนิดในอาฟริกา พบทางตอนใต้ของซาอีลแทนซาเนีย ซิมบักเวย์  เคนย่า  เป็นชนิดแรกที่นำเข้ามาในประเทศไทย  สันนิษฐานว่านะจะนำเข้ามาจากดินโดนีเซีย  ซึ่ง ชวนชมสายพันธุ์นี้พบเห็นกันทั่วไปในประเทศไทย  จนบางครั้งถูกเรียกว่าพันธุ์ไทย หรือพันธุ์พื้นเมือง  ลักษณะเด่นของชวนชมชนิดนี้ ลำต้นจะแตกกิ่งแขนงมาก  โขดไม่ค่อยใหญ่  ใบมัน  ไม่มีขนสีเขียวอ่อน ดอกสีชมพู  กลีบดอกสีชมพูเข้ม กรวยดอกสีเหลือง มีระยางค์อันเรณู  5  เส้น ต่อมาภายหลังมีการนำเข้าไม้ชนิดนี้จาก สหรัฐอเมริกา ฮอลแลนด์  ไต้หวัน  และมีการปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์ทั้งในและต่างประเทศ  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีโขดขนาดใหญ่ขึ้นและสีสรรของดอกมีความหลากหลายสวยสดงดงาม จัดเป็นไม้สียอดนิยม และมีชื่อเรียกขานมากมายหลายร้อยชื่อ

2. Adenium multiflorum Kiotzsch เป็นยักษ์อาฟริกา หรือ แดงเอ หรือ แดงอาฟ



ภาพตัวอย่างจาก http://www.plantzafrica.com/plantab/adeniummultiflor.htm

3. Adenium swazicum Stapf เป็นกลุ่มพวกใบเรียวบิดเล็กพับมีขน ดอกมีสีเดียวกันทั้งดอกจนถึงในกรวยดอก เช่นช็อคกิ้งพิ้ง
4. Adenium bomianum Schinz เป็นพวกใบกว้างใหญ่มีขน ดอกมีสีเดียวกันถึงกรวยดอก เช่น ลักกี้พิ้งค์
5. Adenium olifolium Stapf เป็นพวกยักษ์ใบแบนแคบรูปใบพาย มีขน เช่นพันธุ์บลูฮาวาย
6. Adenium somalense var. somalense Balf. f. เป็นยักษ์ใบเรียวยาวแคบ เส้นใบขาวชัดเจน ไม่มีขน ลำต้นใหญ่สูง ดอกเล็ก มีเส้นนำน้ำหวานในกรวยดอกเห็นชัดเจน กลีบดอกละ 3 เส้น รวม 15 เส้น เช่นยักษ์ญี่ปุ่น
7. Adenium somalense var. crispum เป็นกลุ่มยักษ์ญี่ปุ่นแคระ ใบเรียวเล็กแคบ เส้นใบขาวเห็นชัดเจน ดอกเล็ก มีเส้นนำน้ำหวานในกรวยดอก 15 เส้น เช่นเดียวกับยักษ์ยี่ปุ่น แต่ลำต้นมีขนาดเล็กเตี้ย มีโขดหัวเตี้ย เช่น ลินลี่พุท

กลุ่มที่ 2 มี 2 สายพันธุ์ พบอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ


1. Adenium arabicum Balf. f. เป็นพวกยักษ์ซาอุฯต่างๆ มีโขดเตี้ย มีค้นขึ้นมาจากโขดหลายต้น และไปแตกแขนงกิ่งอีกที เช่นเพชรหน้าวัง , เพชรเมืองคง , ราชินีฯ , ยักษ์พญาชาละวันดำ ,ยักษ์ดำ , ยักษ์ลพบุรี เป็น
2. Adenium socotranum Vierh. เป็นพวกยักษ์ลักษณะเหมือต้นไม้กลับหัวเอารากขึ้นบน ใบมันไม่มีขน เช่น เพชรบ้านนา มงกุฏเพชร มงกุฏทอง เป็นต้น




ไม้สวยของน้องแดงอีกชุด


ไม้ชุดนี้เป็นไม้ของน้องแดงอีกชุดหนึ่งที่ฝากมาโพสให้เพื่อน ๆได้ดูชมกันครับ เชิญชมตามภาพเลยครับ
ชฎาเพชร รุ่น 7 ด้านหน้า

ชฎาเพชรรุ่น 7 ด้านบน
บางคล้าด้านข้าง
บางคล้าด้านบน

บางคล้าอกีต้นครับ ต้นนี้ตัดทดมีดแรกครับ

พุ่มบนของบางคล้าตัดทดครับ

มงกุฎทอง F2 อ้วน ๆ รับมาจากป้าน้อยบุรีรัมย์

มงกุฎทอง F2 ด้านบนครับ

เขาหินซ้อน
เขาหินซ้อนด้านบน
ติชมได้ครับ  ขอบคุณที่ติดตามรับชมครับ

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บ้านนาทรงสูง

เป็นไม้อีกชุดหนึ่งของน้องแดงครับไม้ชุดนี้เป็นเป็นบ้านนาที่ทำทรงสูงไว้ครับ

ต้นที่ 1 กำลังอวบเกือบเท่ากันแล้ว

ต้นที่ 2 ต้องช่วยลุ้นว่าเมื่อไหร่จะโตและใหญ่เท่ากัน

ต้นที่ 3 กำลังจะได้ที่ดึงหน่อย

ต้นที่ 4
ติชมเพื่อเป็นกำลังใจสำหรับคนเลี้ยงไม้ได้ครับ

บ้านนาของน้องที่ทำงาน

ไม้ทั้งหมดนี้เป็นของน้องแดงครับ เป็นน้องที่ทำงานที่เดียวกันและบ้าชวนชมมากกว่าผมอีก น้องเค้าฝากมาแบ่งปันและขอคำแนะนำก็รบกวนเพื่อนพ้องพี่น้องที่รักชวนชมทุกท่านติชมได้เลยครับ
ต้นที่ 1 ด้านบน

ต้นที่ 1 ด้านข้าง

ต้นที่ 2


ต้นที่ 3

ต้นที่ 4 ทำทรงสูงไว้ครับ

ต้นที่ 5

ต้นที่ 6

ต้นที่ 7

ต้นที่ 8

ต้นที่ 9 ต้นนี้รู้สึกจะตัดทำรากตะขาบไว้ ถ้าไม่ใช้โพสบอกหน่อยเด้อแดง

ต้นที่ 10

แนะนำติชมเพื่อก่อได้ครับ

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการออกดอกครั้งแรกของชวนชม ไทยโซโคทรานั่ม ชื่อ ไททาเนีย่ม

ไม้ตัวนี้ซื้อกิ่งเสียบมาจากคุณทนายกฤษ  กันเหตุ แห่งสวนพฤษไสว เมื่อต้นปีที่แล้วครับ หลังจากได้มาแล้วไดตัดเสียบยอดขยายใส่ตอฮอลแลนด์ และเอาขึ้นตอไทยใหญ่ตอหนึ่ง ตอนหลังตัดไปใส่ตอญี่ปุ่น อีกหนึ่งยอด โดยตั้งใจจะดูว่ามันจะออกดอกได้หรือไม่เพราะว่าต้นแม่ที่อยู่กับคุณทนายกฤษ นั้นทราบมาว่ายังไม่เคยออกดอกเลย ซึ่งหลังจากรับมาเลี้ยงแล้วมันก็ไม่ยอมออกดอกตามที่เจ้าของต้นแม่ว่ามาเหมือนกันเคยเห็นมันแทงตาดอกหลายครั้งแต่ว่าไม่ยอมบานมันหลุดล่วงตั้งแต่ยังไม่ทันตูมด้วยซ้ำไป แต่แล้วหลังจากฟูมฟักเลี้ยงมาปีหนึ่ง วันนี้ผลปรากฎว่ามีดอกบานดอกหนึ่งครับ ดอกสีเข้มดีมากครับ ติดตามดูตามภาพเลยครับ
ดอกตูมครับ




บานแล้วครับ

สีสดดีครับ




พยายามหาประวัติของไม้ต้นนี้ครับแต่หาไม่เจอแล้วเลยไม่มีรายละเอียดประวัติของมัน แต่เท่าที่ทราบ คือ มันเป็นลูก F1 ของบางคล้าใบเงินที่มีลักษณะเป็นไม้แคระเท่านั้นครับ 

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผลการเขี่ยเกษรผสมระหว่างยักษ์สิงบุรี กับ อเมซิ่งไทยแลนด์

จากบทความ ที่แล้ว ที่ได้บันทึกการเขี่ยผสมเกษรของชวนชมอาราบีคัม ยักษ์สิงห์บุรี กับ ไม้สี อเมซิ่งไทยแลนด์  ไว้ปรากฎว่าในการเขี่ยครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ คือ ไม่ติดฝัก จากนั้นพยายามเขี่ยอีกสองครั้ง โดยครั้งที่ 3 เขี่ยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2554 ผลปรากฎว่าหลังจากผ่านมาสองสัปดาห์ก็เห็นผลแล้วครับว่า มีการติดฝัก ติดตามชมตามภาพเลยครับ





ตอนนี้ติดฝักแล้วแต่จะอยู่รอดจนได้เมล็ดหรือเปล่าคนต้องลุ้นต่อไปเพราะว่าต้นแม่ต้นเล็กมาก ๆ ครับ

วิธีหมักใบก้ามปู สำหรับปลูกชวนชมของผม

สูตรนี้เป็นสูตรเฉพาะตัวที่ศึกษาจากวิธีการหมักดินของหลายสำนักครับ มาสรุปตรงที่ว่าเอาวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสมในการหมักจะง่ายที่สุดครับ แต่เน้นที่ต้องใช้ใบฉำฉาเป็นส่วนผสมหลักเนื่องจากเป็นใบฉำฉาวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับใช้ปลูกชวนชมมากที่สุด

สำหรับส่วนผสมและอัตราส่วนแบคร่าว ๆ มีดังนี้ครับ

    1. จุลินทรีย์  EM  1  ช้อนโต๊ะ
จุลินทรีย์ขยายครับ ปกติจะมีขายตามร้านเคมีเกษตรขนาดบรรจุ 1 ลิตร เมื่อได้มาแล้วก็ขยายไว้ใช้ครับจะได้ไม่ต้องซื้ออีก
     2. กากน้ำตาล หรือ โมลาส  1  ช้อนโต๊ะ
กากน้ำตาล หรือ โมลาส หาซื้อได้ตามร้านเคมีเกษตรทั่วไปครับ
    3. กากมะพร้าว  1  กระสอบปุ๋ย  สำหรับส่วนผสมอันนี้ถ้าเกิดมีรำละเอียดก็สามารถใช้ลำละเอียดแทนได้ แต่ว่ารำละเอียดน่าจะราคาแพงกว่า
กากมะพร้าว ของเหลือจากการขั้นน้ำกะทิ หาซื้อหรือขอได้ตามร้านขายกะทิสดที่ตลาดครับ
     4. ปุ๋ยคอก  1  กระสอบปุ๋ย  อาจเป็น ขี้ไก่ หรือ ขี้วัว ก็ได้ครับ ของผมใช้ขี้วัว เพราะหาง่ายและราคาไม่แพงมาก
ขี้วัวตากแห้ง
    5. ใบฉำฉา  หรือ ใบก้ามปู    1   กระสอบปุ๋ย
ใบฉำฉา หรือ ใบก้ามปู สามารถหาได้ตามธรรมชาติครับไม่ต้องซื้อ ปกติผมจะไปหากวาดในช่วงฤดูที่มันผลัดใบครับ
   สำหรับวิธีตามนี้เลยครับ
      1.นำขี้วัวและกากมะพร้าว เทกองกับพื้นแล้วคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งสองอย่างให้เข้ากันก่อนเลยครับ   
    2. จากนั้นผสมกากน้ำตาลและจุลินทรีย์ กับน้ำเปล่า ในอัตราส่วน 1:1000 หรือแบบง่าย ๆ เลย คือ กากน้ำตาล และ จุลินทรีย์ อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร โดยผสมส่วนผสมทั้งสามอย่างในกะละมังใบใหญ่ ๆ หน่อยครับ


     3.จากนั้นนำเอาใบฉำฉา หรือ ใบก้ามปู ไปจุ่มในน้ำในข้อ 2 ให้เปียกให้ทั่ว แล้วนำไปกองพักไว้บนกองขี้วัวและกากมะพร้าวที่คลุกไว้แล้ว

    4. หลังจากที่นำใบฉำฉา หรือ ใบก้ามปู จุ่มน้ำจนหมดแล้วจึงค่อยคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งสามอย่างให้เข้ากัน
      5. หลังจากคลุกเคล้ากันดี อาจนำส่วนผสมทั้งหมดไปกองไว้กับพื้นปูนแล้วหากระสอบปุ๋ย หรือ ผ้ายางคลุมไว้ หรือ หากพื้นที่จำกัดก็ใช้วิธีบรรจุใส่กระสอบปุ๋ยแล้วกองซ้อน ๆ กันไว้ และหาอะไรคลุมไว้กันไม่ให้แห้งครับ
        ข้อสำคัญคือ หลังจากเรานำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกันแล้วจะเกิดความร้อนสูงมากครับดังนั้นหากกองกับพื้นก็ต้องคอยกลับขึ้นลงสัปดาห์ละครั้งก็ได้ครับ ส่วนกรณีใส่กระสอบปุ๋ยก็ให้กลับกระสอบป๋ยสองสามวันครั้งเลยก็ได้หากมีเวลา และระหว่างการหมักหากกองปุ๋ยหรือกระอสอบปุ๋ยแหง้ก้สามารถลดน้ำเพิ่มความชื้นได้ครับไม่เสียหายอะไร  เราจะใช้เวลาหมักประมาณสามเดือนครับ ความร้อนที่มีอยู่ในกองปุ๋ยจะหายไปและใบฉำฉาจะเริ่มเปื่อยยุ่ยจนสามารถขยี้ให้เป็นผงได้ แค่นี้ก็สามารถนำไปใช้ปลูกชวนชมได้เลยครับ

สภาพปุ๋ยที่ผ่านการหมักแล้วครับ ในภาพหมักมานานประมาณ 4 เดือน