ชวนชม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenium obesum Balf., ชื่อสามัญ: Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose (กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย ถิ่นกำเนิดของชวนชมมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ. 2305 แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนในประเทศไทย มีการพบชวนชมตั้งแต่ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไร สำหรับในประเทศไทย ชวนชมที่เป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน คือ ชวนชมสายพันธุ์ โซโครทรานั่มและอาราบิคั่ม หรือ ชวนชมยักษ์ซาอุ ชวนชมยักษ์ซาอุ ชวนชมสายพันธุ์นี้มีเอกลักษณ์ที่สวยงามต้นใหญ่ อวบ กิ่งก้านและดอกดกมาก พบมากในอำเภอ คง จังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็น4ตระกูลหลัก ได้แก่ เพชรเมืองคง เพชรหน้าวัง ยักษ์ดำ และ ราชินีพันดอก ส่วนโซโคทรานั่ม มีเอกลักษณ์คือ รากใหญ่ กิ่งสั้น แตกพุ่มคล้ายบอนไซ
สายพันธุ์ชวนชมมี 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกพบตามแนวฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกา มี 7 สายพันธุ์
1. Adenium obesum Balf. f. เป็นพวกไม้สีสายพันธุ์ฮอลแลนด์ต่าง ๆ กลุ่มนี้ในเมืองไทยนิยมเล่นสีของดอกเป็นส่วนใหญ่
มีถิ่นกำเนิดในอาฟริกา พบทางตอนใต้ของซาอีลแทนซาเนีย ซิมบักเวย์ เคนย่า เป็นชนิดแรกที่นำเข้ามาในประเทศไทย สันนิษฐานว่านะจะนำเข้ามาจากดินโดนีเซีย ซึ่ง ชวนชมสายพันธุ์นี้พบเห็นกันทั่วไปในประเทศไทย จนบางครั้งถูกเรียกว่าพันธุ์ไทย หรือพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่นของชวนชมชนิดนี้ ลำต้นจะแตกกิ่งแขนงมาก โขดไม่ค่อยใหญ่ ใบมัน ไม่มีขนสีเขียวอ่อน ดอกสีชมพู กลีบดอกสีชมพูเข้ม กรวยดอกสีเหลือง มีระยางค์อันเรณู 5 เส้น ต่อมาภายหลังมีการนำเข้าไม้ชนิดนี้จาก สหรัฐอเมริกา ฮอลแลนด์ ไต้หวัน และมีการปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์ทั้งในและต่างประเทศ ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีโขดขนาดใหญ่ขึ้นและสีสรรของดอกมีความหลากหลายสวยสดงดงาม จัดเป็นไม้สียอดนิยม และมีชื่อเรียกขานมากมายหลายร้อยชื่อ
2. Adenium multiflorum Kiotzsch เป็นยักษ์อาฟริกา หรือ แดงเอ หรือ แดงอาฟ
ภาพตัวอย่างจาก http://www.plantzafrica.com/plantab/adeniummultiflor.htm
3. Adenium swazicum Stapf เป็นกลุ่มพวกใบเรียวบิดเล็กพับมีขน ดอกมีสีเดียวกันทั้งดอกจนถึงในกรวยดอก เช่นช็อคกิ้งพิ้ง
4. Adenium bomianum Schinz เป็นพวกใบกว้างใหญ่มีขน ดอกมีสีเดียวกันถึงกรวยดอก เช่น ลักกี้พิ้งค์
5. Adenium olifolium Stapf เป็นพวกยักษ์ใบแบนแคบรูปใบพาย มีขน เช่นพันธุ์บลูฮาวาย
6. Adenium somalense var. somalense Balf. f. เป็นยักษ์ใบเรียวยาวแคบ เส้นใบขาวชัดเจน ไม่มีขน ลำต้นใหญ่สูง ดอกเล็ก มีเส้นนำน้ำหวานในกรวยดอกเห็นชัดเจน กลีบดอกละ 3 เส้น รวม 15 เส้น เช่นยักษ์ญี่ปุ่น
7. Adenium somalense var. crispum เป็นกลุ่มยักษ์ญี่ปุ่นแคระ ใบเรียวเล็กแคบ เส้นใบขาวเห็นชัดเจน ดอกเล็ก มีเส้นนำน้ำหวานในกรวยดอก 15 เส้น เช่นเดียวกับยักษ์ยี่ปุ่น แต่ลำต้นมีขนาดเล็กเตี้ย มีโขดหัวเตี้ย เช่น ลินลี่พุท
กลุ่มที่ 2 มี 2 สายพันธุ์ พบอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ
1. Adenium arabicum Balf. f. เป็นพวกยักษ์ซาอุฯต่างๆ มีโขดเตี้ย มีค้นขึ้นมาจากโขดหลายต้น และไปแตกแขนงกิ่งอีกที เช่นเพชรหน้าวัง , เพชรเมืองคง , ราชินีฯ , ยักษ์พญาชาละวันดำ ,ยักษ์ดำ , ยักษ์ลพบุรี เป็น
2. Adenium socotranum Vierh. เป็นพวกยักษ์ลักษณะเหมือต้นไม้กลับหัวเอารากขึ้นบน ใบมันไม่มีขน เช่น เพชรบ้านนา มงกุฏเพชร มงกุฏทอง เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น