วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 2 การผสมเกษรเพื่อปรับปรุงพันธ์ชวนชมยักษ์อาราบีคัม(ยักษ์สิงห์บุรี)

ในการเขี่ยครั้งนี้ก็ยังคงคล้ายกับการเขี่ยผสมพันธุ์ในครั้งที่แล้ว โดยใช้ลูกยักษ์สิงห์บุรี ซึ่งเป็นชวนชม อาราบีคัม ชนิดหนึ่ง เป็นต้นแม่พันธุ์ ส่วนต้นพ่อพันธุ์ก็ยังคงใช้ไม้สี อเมซิ่งไทยแลนด์ดอกซ้อน เหมือนเดิม ด้วยหวังให้ได้ลักษณะต้นแบบยักษ์อาราบีคัม แต่ดอกซ้อนเหมือน อเมซิ่งไทยแลนด์ดอกซ้อน

ภาพต้นแม่ ยักษ์สิงห์บุรีครับ ติดตามภาพที่เหลือและประวัติ ที่นี่ ครับ
ภาพต้นแม่พันธ์ของผมครับ อิอิ ต้นเล็กนิดเดียวไม่รู้จะไหวหรอเปล่า เคยเขี่ยผสมไปครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2554 แต่ไม่ติด วันนี้ลองใหม่อีกรอบละกัน
ต้นแม่พันธ์อีกด้านหนึ่งครับ

 ภาพต้นพ่อพันธุ์ที่ใช้ในครั้งนี้ครับ ดอกด้านี้แหละที่เล็งไว้ อิอิ
หลังจากเล็งแล้วก็เด็ดออกมา ฉีก ฉีก หาเกษรตัวผู้ที่จะนำไปผสมกับเกษรตัวเมียในต้นแม่พันธุ์
เลือกดอกที่ต้นแม่แค่ดอกเดียวก็พอครับครั้งนี้เลือกดอกที่บานได้ประมาณสองวันตามตำรา เพื่อหวังผลการติดฝัก แล้ว ฉีกสักเซี่ยวหนึ่งจากนั้นเขี่ยเกษรตัวผู้ในดอกนี้ทิ้งไปก่อนที่จะนำเอาเกษรตัวผู้จากต้นพ่อพันธุ์มาผสมกับเกษรตัวเมียในดอกนี้ก็เป็นอันเสร็จครับ จากนี้ก็รอลุ้นอีกรอบ  ถ้าไม่ได้ผลสงสัยได้ไปหาซื้อต้นแม่พันธ์ใหม่
รวมต้นแม่พันธ์ และต้นพ่อพันธ์ ครับ



วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 1 การเขี่ยเกษรเพื่อปรับปรุงพันธ์ระหว่างมงกุฎเงิน 2/1 F1 กับอเมซิ่งไทยแลนด์ดอกซ้อน

จากบทความตอนที่แล้วได้พูดถึงเรื่องการผสมพันธุ์เพื่อปรับปรุงพันธ์ไปแล้วในครั้งนี้เป็นการบันทึกการเริ่มผสมพันธ์เพื่อปรับปรุงพันธ์ของตนเอง ซึ่งในการเขี่ยครั้งแรกนี้เป็นการนำกิ่งเสียบมงกุฏเงิน 2/1 F1 ที่ได้มาจากเพื่อนที่ปลูกเลี้ยงชวนชมด้วยกันมาเป็นต้นแม่  และใช้ไม้สีอเมซิ่งไทยแลนด์ดอกซ้อนเป็นต้นพ่อ ด้วยหวังผลว่าจะได้ลำต้นแบบมงกุฏเงิน แต่มีดอกซ้อนแบบอเมซิ่งไทยแลนด์ดอกซ้อน
ภาพต้นแม่มงกุฏเงิน 2/1 ของคุณกฤตย์ กันเหตุ แห่งสวนพฤกษ์ไสว ยืมภาพมาจาก ที่นี่

ในการเขี่ยเกษรผสมในครั้งนี้นั้นไม่ได้เขี่ยกับต้นแม่โดยตรง เนื่องจากไม่ได้ซื้อเก็บไว้ครับ แต่ใช้กิ่งเสียบของลูก F1 หรือชั่วที่ 1 เป็นต้นแม่พันธุ์  โดยจะนำเกษรตัวผู้จากต้นพ่อมาผสมกับเกษรตัวเมียในดอกของต้นแม่

 ภาพต้นแม่พันธุ์ที่ใช้ผสมในครั้งนี้ครับ
ดอกต้นแม่พันธ์ใกล้ ๆ ครับ บานดอกเดียว
 
ภาพของอเมซิ่งไทยแลนด์ดอกซ้อนที่ใช้เป็นต้นพ่อในครั้งนี้

หลังจากได้ต้นแม่พันธ์กับพ่อพันธุ์มาแล้วก็จัดการเลยครับเด็ดดอกที่จะเอาเกษรตัวผู้ออกมา
 ฉีกออกเพื่อมองหาเกษรตัวผู้ครับ
 แล้วใช้ไม้จิ้มฟันเป็นอุปกรณ์ในการเขี่ยเอาเกษรตัวผู้จากดอกของต้นพ่อไปผสมกับเกษรตัวเมียในต้นแม่พันธ์
 ที่ต้นแม่พันธ์ก็ฉีกกลีบดอกออกเช่นกันหลังจากฉีดกลีบดอกแล้วได้เขี่ยเกษรตัวผู้ในดอกของต้นแม่ออกก่อนจากนั้นนำเกษรตัวผู้จากต้นพ่อพันธุ์มาผสมกับเกษรตัวเมียในดอกนี้ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการผสมเกษรครับ ต่อไปก็รอลุ้นว่าการเขี่ยผสมเกษรในครั้งนี้ประสบผลจำเร็จหรือไม่หากเป็ไปด้วยดีเมื่อดอกโรยน่าจะเห็นการติดฝักของดอกนี้ครับ 

สำหรับวิธีการเขี่ยผสมเกษรแบบชัด ๆ ติดตามอ่านได้จาก ที่นี้ ครับ

จบแล้วครับ ความคืบหน้าเป็นเช่นไรจะมานำเสนออีกครั้งครับ




วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชผสมตัวเอง

              วิธีการปรับปรุงพันธ์ที่นิยมใช้กันมีทั้งหมด 5 วิธีดังนี้ คือ
              1.วิธีการคัดเลือกหมู่  คือ การเลือกกลุ่มของสายพันธุ์ที่มีลักษณะที่ดีหรือลักษณะที่ต้องการไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปปลูกในชั่วต่อไป และทำต่อเนื่องต่อไปหลาย ๆ ปีจนกว่าจะได้พันธุ์ที่ค่อนข้างมีลักษณะที่ต้องการสม่ำเสมอ จึงจะหยุดการคัดเลือก และใช้เป็นพันธุ์ขยายต่อไป
              2.การคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ เป็นการคัดเลือกให้เหลือพันธุ์แท้เพียงพันธุ์เดียว  มีขั้นตอนการคัดเลือก ๓ ขั้นตอน ดังนี้
                2.1 คัดเลือกสายพันธุ์หรือพืชต้นที่มีลักษณะดีไว้จำนวนหนึ่ง ยิ่งมากยิ่งดี 
                2.2 นำเมล็ดจากต้นที่คัดเลือกไปปลูกแบบต้นและแถว ในสภาพของแปลงปลูกที่มีความสม่ำเสมอกัน แล้วคัดเลือกสายพันธุ์หรือต้นที่ดีจากแถวที่ดีไว้ คัดทิ้งแถวที่มีลักษณะเลวหรือไม่ต้องการออกไป ทำการคัดเลือกเช่นนี้ต่อไปหลาย ๆ ชั่วให้เหลือสายพันธุ์ที่ดีจริง ๆ เพียงไม่กี่สายพันธุ์
               2.3 เมื่อไม่สามารถแยกความแตกต่างของสายพันธุ์ด้วยสายตายแล้ว จึงนำสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว ไปคัดเลือกแบบหลายชุดซ้ำกัน โดยมีพันธุ์มาตรฐานมาร่วมเปรียบเทียบด้วย เพื่อให้การคัดเหลือมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถเปรียบเทียบผลิตผลของสายพันธุ์ได้ด้วย
               การคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์เป็นวิธีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ 
              3. การคัดเลือกแบบรู้ (จด) ประวัติ ใช้ในกรณีที่พืชต่างพันธุ์กันมีลักษณะดีกันคนละอย่าง เช่น พันธุ์ ก. มีผลิตผลสูง ส่วนพันธุ์ ข. มีความต้านทานโรค การที่จะผสมพันธุ์ให้ได้พืชพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีทั้ง 2 อย่างอยู่ในพันธุ์เดียวกันจำเป็นต้องผสมพันธุ์ทั้งสองเข้าด้วยกัน แล้วคัดเลือกลูกผสมชั่วหลัง ๆ ของพันธุ์ทั้งสอง ให้ได้พันธุ์ที่มีลักษณะที่ดีของพันธุ์ทั้งสองอยู่ด้วยกัน แต่เนื่องจากลักษณะบางอย่างควบคุมด้วยยีนหลายคู่ ดังนั้น การกระจายพันธุ์ของลูกผสมชั่วหลังจึงมีจำนวนมาก การที่จะคัดเลือกให้เหลือพันธุ์ที่ดีเป็นพันธุ์บริสุทรธิ์ไว้เพียงไม่กี่สายพันธุ์จะต้องคัดเลือกสายพันธุ์ต่าง ๆ ระหว่างชั่วที่ 2-ชั่วที่ 6 ด้วยสายตา โดยคัดเฉพาะต้นที่มีลักษณะรวมทั้งของพ่อและของแม่ไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปปลูกแบบรวงต่อแถวในชั่วต่อไป ส่วนพวกที่เหลือคัดทิ้งไปจำนวนต้นที่คัดเลือกไว้ในชั่วแรก ๆ จะมีส่วนสัดค่อนข้างมาก และลดน้อยลงตามลำดับในชั่วถัดไป จนถึงชั่วที่ 6  เพราะตามทฤษฎีของพืชที่ผสมตัวเองพบว่าพันธุ์ที่เป็นพันธุ์ไม่แท้หรือพันธุ์ผสม หากปล่อยให้ผสมตัวเองซ้ำกันจนถึงชั่วที่ 6 สายพันธุ์จะค่อย ๆ กลายเป็นพันธุ์บริสุทธิ์เกือบ 100% และเมื่อสายพันธุ์มีความสุทธิเพิ่มมากขึ้น มีความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ก็จะพิจารณาด้วยสายตายากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนไปคัดเลือกโดยวิธีอื่น
              4.การผสมแบบพันธุ์รวม เป็นการคัดเลือกหลังการผสมพันธุ์แบบง่ายๆ ประหยัด แต่ลักษณะบางอย่างยังไม่สม่ำเสมอหรือเป็นพันธุ์บริสุทธิ์ที่สมบูรณ์ หากต้องการให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์จะต้องคัดเลือกต่อไปแบบรู้ประวัติอีกระยะหนึ่ง วิธีการคัดเลือกมีดังนี้
                  4.1 ปลูกลูกผสมชั่วที่สอง (F(...)) จำนวนมากว่า 1,000 ต้นขึ้นไป ยิ่งมากยิ่งดี โดยใช้วิธีการและระยะปลูกตามแบบการปลูกแบบการค้าทั่วไป
                  4.2 เก็บเกี่ยวทั้งแปลง รวมเมล็ดเข้าด้วยกันทั้งหมด แล้วปลูกในชั่วต่อไปเหมือนปลูก F(...) ทำซ้ำต่อไปหลาย ๆ ชั่ว ต้นที่มีลักษณะไม่ดีจะตายไปเองตามธรรมชาติ เพราะไม่สามารถเบียดเสียดแข่งกับต้นที่ทนทานได้ 
                  4.3 คัดทิ้งต้นที่มีลักษณะเลวที่เห็นได้ชัดออกบ้าง
                  4.4. หลังจากชั่วที่ ๓ แล้ว อาจใช้เป็นพันธุ์ส่งเสริมได้ทันที หรือคัดเลือกแบบรู้ประวัติต่อไปจนกว่าจะได้พันธุ์บริสุทธิ์ที่ดี
              5. การผสมแบบกลับทาง เป็นการปรับปรุงพันธุ์พืชบางพันธุ์มีลักษณะดีหลายอย่างอยู่แล้ว และเป็นพันธุ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วในท้องถิ่นแต่ขาดลักษณะที่ต้องการบางอย่าง หากมีความประสงค์จะปรับปรุงให้มีลักษณะที่ขาดนั้นเพิ่มขึ้นในพันธุ์ จะต้องใช้การผสมแบบกลับทาง ซึ่งมีวิธีการดังนี้
                  5.1 ผสมระหว่างพันธุ์ A ที่ต้องการนำไปปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้นกับพันธุ์ B ที่มียีนดี ซึ่งพันธุ์ A ขาดอยู่ และต้องการเพิ่ม
                  5.2 นำลูกผสมชั่วที่ ๑ (F1) ไปผสมกลับกับพันธุ์  A เป็นพันธุ์ A2x B เมื่อเก็บเกี่ยวเลือกเฉพาะต้นที่มีลักษณะพันธุ์ B อยู่ด้วย
                  5.3 ผสมตัวเองพันธุ์  A2x B เพื่อปลูกเป็น F2ของพันธุ์ A2x B แล้วคัดเลือกต้นที่มีลักษณะ  A และ B  อยู่ด้วย เพื่อปลูกเป็นลูก-ผสมชั่วที่ ๓ (F3)
                 5.4 ผสม (F3) ของ A2x B กับพันธุ์ A เพื่อให้ได้พันธุ์ A3x B
                 5.6 ผสม A3x B กับพันธุ์ A เพื่อให้ได้พันธุ์ A4x B
                 5.7 ผสมลูกผสมกลับไปยังพันธุ์ A เรื่อย ๆ จนถึง A6x B
                 5.8 รวบรวมสายพันธุ์แท้ที่มีลักษณะของพันธุ์ A และ  B เข้าด้วยกันเพื่อขยายใช้เป็นพันธุ์ส่งเสริมต่อไป 

ลักษณะของการผสมพันธุ์พืช

            ตั้งใจแยกบล๊อค ออกเป็นสองบล๊อค เพื่อบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับคอมพิวเตอณ์และชวนชมออกจากกัน และได้แยกมานานมากแล้วแต่ยังไม่ได้เริ่มเขียนเรื่องของชวนชมเลย จนเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2554 พอมีเวลาช่วงหยุดยาวประกอบกับเจ้าลูกยักษ์สิงห์บุรี  กับ  กิ่งเพชรบ้านนา สายเมืองเลย มีดอกบาน จึงเกิดความคิดว่าน่าจะลองทำดอกซ้อนสองชั้น ซึ่งได้ลงมือเขี่ยผสมเกษรไปแล้ว วันนี้พอมีเวลาเลยบันทึกความรู้เกี่ยวกับผสมพันธ์พืชเพื่อปรับปรุงพันธ์เบื้องต้นไว้ก่อนละกันครับเพื่อเป็นพื้นฐาน จากนั้นจะทยอยนำวิธีการเขี่ยผสมเกษรมาเขียนเพิ่มและติดตามพัฒนาการต่อไปครับ
            ขอเริ่มที่ลักษณะการผสมพันธุ์ของพืชแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
            1. พืชที่ผสมตัวเอง หมายถึง พืชที่เกสรตัวเมียของดอก ผสมกับเรณูเกสรของดอกเดียวกัน หรือของดอกอื่นแต่จากต้นเดียวกัน พืชที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วสิสง ยาสูบ และมะเขือเทศ เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้พืชผสมตัวเองมีหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ที่สำคัญ ได้แก่
                ก. การผสมเกสรระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเกิดก่อนดอกบาน
                ข. เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีลักษณะพิเศษ มีส่วนที่หุ้มให้ติดกันอยู่
                ค. เกสรตัวเมียอาจจะยื่นผ่านกลุ่มเกสรดอกตัวผู้ขณะที่ดอกตัวผู้สลัดเกสร
            2. พืชที่ผสมข้ามต้น หมายถึง พืชที่เกสรตัวเมียของดอก ผสมด้วยเรณูเกสรของดอกจากต้นอื่น พืชชนิดนี้ตัวอย่าง ได้แก่ ข้าวโพด ละหุ่ง มะม่วง ยาพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
            การที่พืชต้องผสมข้ามต้นเพราะสาเหตุต่างๆ ดังนี้ คือ มีดอกเพศไม่สมบูรณ์ มีดอกสองบ้าน ดอกสมบูรณ์เพศแต่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีระยะสืบพันธุ์ไม่พร้อมกัน มีดอกที่ไม่สามารพผสมตัวเองได้ เนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมทำให้เป็นหมัน
            3. พืชที่มีลักษณะเป็นทั้งผสมตัวเองและผสมข้ามต้น พืชบางชนิดเป็นพืชที่ผสมตัวเองส่วนใหญ่ แต่จะผสมข้ามต้นบ้าง และปริมาณการผสมข้ามต้นขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายประการ เช่น อุณหภูมิและความชื้นของบรรยากาศ จำนวนผึ้งและกำลังกระแสลม เป็นต้น

ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK17/chapter9/t17-9-l2.htm#sect4