วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ลักษณะของการผสมพันธุ์พืช

            ตั้งใจแยกบล๊อค ออกเป็นสองบล๊อค เพื่อบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับคอมพิวเตอณ์และชวนชมออกจากกัน และได้แยกมานานมากแล้วแต่ยังไม่ได้เริ่มเขียนเรื่องของชวนชมเลย จนเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2554 พอมีเวลาช่วงหยุดยาวประกอบกับเจ้าลูกยักษ์สิงห์บุรี  กับ  กิ่งเพชรบ้านนา สายเมืองเลย มีดอกบาน จึงเกิดความคิดว่าน่าจะลองทำดอกซ้อนสองชั้น ซึ่งได้ลงมือเขี่ยผสมเกษรไปแล้ว วันนี้พอมีเวลาเลยบันทึกความรู้เกี่ยวกับผสมพันธ์พืชเพื่อปรับปรุงพันธ์เบื้องต้นไว้ก่อนละกันครับเพื่อเป็นพื้นฐาน จากนั้นจะทยอยนำวิธีการเขี่ยผสมเกษรมาเขียนเพิ่มและติดตามพัฒนาการต่อไปครับ
            ขอเริ่มที่ลักษณะการผสมพันธุ์ของพืชแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
            1. พืชที่ผสมตัวเอง หมายถึง พืชที่เกสรตัวเมียของดอก ผสมกับเรณูเกสรของดอกเดียวกัน หรือของดอกอื่นแต่จากต้นเดียวกัน พืชที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วสิสง ยาสูบ และมะเขือเทศ เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้พืชผสมตัวเองมีหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ที่สำคัญ ได้แก่
                ก. การผสมเกสรระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเกิดก่อนดอกบาน
                ข. เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีลักษณะพิเศษ มีส่วนที่หุ้มให้ติดกันอยู่
                ค. เกสรตัวเมียอาจจะยื่นผ่านกลุ่มเกสรดอกตัวผู้ขณะที่ดอกตัวผู้สลัดเกสร
            2. พืชที่ผสมข้ามต้น หมายถึง พืชที่เกสรตัวเมียของดอก ผสมด้วยเรณูเกสรของดอกจากต้นอื่น พืชชนิดนี้ตัวอย่าง ได้แก่ ข้าวโพด ละหุ่ง มะม่วง ยาพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
            การที่พืชต้องผสมข้ามต้นเพราะสาเหตุต่างๆ ดังนี้ คือ มีดอกเพศไม่สมบูรณ์ มีดอกสองบ้าน ดอกสมบูรณ์เพศแต่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีระยะสืบพันธุ์ไม่พร้อมกัน มีดอกที่ไม่สามารพผสมตัวเองได้ เนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมทำให้เป็นหมัน
            3. พืชที่มีลักษณะเป็นทั้งผสมตัวเองและผสมข้ามต้น พืชบางชนิดเป็นพืชที่ผสมตัวเองส่วนใหญ่ แต่จะผสมข้ามต้นบ้าง และปริมาณการผสมข้ามต้นขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายประการ เช่น อุณหภูมิและความชื้นของบรรยากาศ จำนวนผึ้งและกำลังกระแสลม เป็นต้น

ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK17/chapter9/t17-9-l2.htm#sect4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น