วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รวมคำสั่งที่จำเป็นใน UBUNTU

1. man มาจาก  แมนวล (manual) คำสั่ง man ใช้ดูข้อมูลการใช้คำสั่ง 
   วิธีใช้คำสั่ง man ดังนี้  ให้พิมพ์ man เว้นวรรค แล้วตามด้วยคำสั่งที่อยากดู เช่น man su เพื่อดูคำสั่ง su ดังตัวอย่าง # man su
2.pwd สั่งเพื่อดูสถานะของไดเรกทอรี่ปัจจุบัน ตรวจสอบว่าเรากำลังทำงานอยู่ที่ไดเรกทอรี่ไหน 
3.cd  cd = change directory คือ คำสั่งเปลี่ยนไดเรกทอรี่นั่นเอง เมื่อสั่ง cd แล้วกด จะเป็นการย้ายไปที่ home ไดเรกทอรี่ของผู้ใช้ การย้ายไปยังไดเรกทอรี่อื่น ๆ ก็ต้องระบุไดเรกทอรี่ที่ต้องการต่อท้ายจากคำสั่งการระบุไดเรกทอรี่มี 2 แบบ คือ
     1. ระบุแบบเต็ม คือต้องใส่ชื่อไดเรกทอรี่เต็ม ๆ ตั้งแต่ไดเรกทอรี่ root เช่น [root@localhost /root] # cd /usr/bin   
    2. ระบุแบบอ้างอิง วิธีนี้จะขึ้นอยู่กับไดเรกทอรี่ที่ทำงานอยู่ปัจจุบัน เช่น ตอนนี้ อยู่ที่ไดเรกทอรี่ /root ต้องการไปยังไดเรกทอรี่ /usr/x11R6/bin ก็พิมพ์ คำสั่งดังนี้ [root@localhost /root] # cd ../usr/x11R6/bin     
      เครื่องหมาย .. หมายถึงย้อนกลับไปหนึ่งชั้น แล้วจึงระบุไดเรกทอรี่ที่ต้องการเต็ม ๆ
อีกตัวอย่าง อยู่ที่ไดเรกทอรี่ root ต้องการไปที่ไดเรกทอรี่ temp ที่อยู่ภายใต้
ไดเรกทอรี่ root อีกที ก็พิมพ์คำสั่งดังนี้
    [root@localhost /root] # cd  temp         
เราสามารถพิมพ์ชื่อไดเรกทอรี่ปลายทางได้เลย เพราะว่าอยู่ที่ไดเรกทอรี่ root อยู่
แล้วนั่นเอง
   ยังมีวิการสั่งแบบอื่นอีก ดังนี้

        คำสั่ง                              ความหมาย

    cd                           ย้ายไปยังไดเรกทอรี่ login หรือไดเรกทอรี่ home           
    cd ~                        เหมือนกับ cd
    cd /                         ย้ายไปยังไดเรกทอรี่ราก
    cd /root                    ย้ายไปยังไดเรกทอรี่ /root
    cd /home                  ย้ายไปยังไดเรกทอรี่ /home
    cd ..                         ย้อนกลับไปยังไดเรกทอรี่ก่อนหน้า 
    cd ~otheruser            ย้ายไปยังไดเรกทอรี่ login ของผู้ใช้ otheruser 
    cd /dir 1/subdirfo       ย้ายไปยังไดเรกทอรี่ /dir 1/subdirfo
    cd ../../dir3/X11         ย้อนกลับไป 2 ชั้นจากปัจจุบัน แล้วไปที่ไดเรกทอรี่
                                    /dir3/X11
4.ls (list นั่นเอง) เป็นคำสั่งใช้
ดูข้อมูลในไดเรกทอรี่ ว่ามีแฟ้มอะไรบ้าง เราสามารถสั่ง ls ได้หลายแบบ
ขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ที่ระบุท้ายคำสั่ง ที่ใช้กันบ่อย ๆ เช่น
   ls        หมายถึง     การดูแฟ้มที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน
   ls -a    หมายถึง     การดูแฟ้มที่ซ่อนอยู่ ใช้คำสั่ง ls ธรรมดาจะไม่เห็น
                             แฟ้มที่เป็นแฟ้มประเภทซ่อน จะขึ้นต้นแฟ้มด้วย
                             เครื่องหมายจุด (.)อยู่หน้าแฟ้ม เช่น .abcd1   
   ls -l     หมายถึง     การดูข้อมูลแบบยาว ที่มีรายละเอียดกว่าแบบอื่น
                              จะแสดงข้อมูล Permission, Owner, Group, Size
                              วันที่สร้างแฟ้ม ถ้าแฟ้มนี้เป็นแฟ้ม link จะแสดงที่อยู่
                              ของแฟ้มต้นฉบับด้วย
   ls -F    หมายถึง      การดูประเภทของแฟ้มจากสัญลักษณ์ที่อยุ่ท้ายแฟ้ม
                              เช่น / หมายถึงไดเรกทอรี่, @ หมายถึง symbolic link
                              * หมายถึงแฟ้มที่รันได้
   ls -R    หมายถึง     การดูข้อมูลทุกไดเรกทอรี่ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน
   ls -S    หมายถึง     การดูข้อมูลเรียงตามขนาดของแฟ้ม
4.sudo nautilus สำหรับเปิดโฟร์เดอร์ของ root เพื่อดำเนินการต่างในฐานะ  root

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การกู้พาธทิชั้นในฮาร์ตดิสด้วย testdisk

สืบเนื่องจากกระทู้นี้ครับ http://forum.ubuntuclub.com/forum?topic=11507.0 ได้รับคำแนะแล้วเลยลองมั่วทำดูสามารถกู้ Partition และข้อมูลคืนมาได้ครับเลยนำแชร์เพื่อประโยชน์สำหรับคนที่ไม่รู้ครับ จะได้ไม่ต้องมั่วคือผมครับ
วิธีที่ 1 หากยังสามารถบู๊ตเข้า UBUNTU ได้อยู่ให้ติดตั้งเครื่องตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.sudo gedit /etc/apt/sources.list แล้วเพิ่มบรรทัดนี้
deb http://ppa.launchpad.net/arzajac/ppa/ubuntu karmic main ที่ด้านล่างสุด บันทึกและปิด gedit
2.จากนั้นตามด้วยคำสั่งนี้
sudo apt-key adv --keyserver keyserver.ubuntu.com --recv-keys BDFD6D77
3.จากนั้นสั่ง sudo apt-get update
4.จากนั้นติดตั้งเครื่องมือด้วยคำสั่งนี้ sudo apt-get install ubuntu-rescue-remix-tools
วิธีที่ 2 กรณีบู๊ตเข้า UBUNTU ไม่ได้ให้ดาวโหลดตัว live CD จากลิ้งนี้ครับ http://ubuntu-rescue-remix.org/About
เมื่อเข้าไปที่เวปแล้วเลือกดาวโหลดตัวที่ต้องการอยู่มุมบนขวาของจอครับ เมื่อดาวโหลดมาแล้วเขียนลงแผ่นซีดีแล้วใช้แผ่นนี้บู๊ตเพื่อใช้งาน testdisk ครับ แต่เป็น text mode ครับ (เห็นในเว็ปบอกว่าทำเป็ live USB ด้วยก็ได้ครับแต่ผมไม่ได้ลองครับ)
การใช้งาน
1.เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วหรือบู๊ตด้วย live cd แล้ว เข้าโปรแกรมด้วยคำสั่ง
sudo testdisk (หมายเหตุ ในกรณีใช้แผ่น live cd หรือ live USB ก็ต้องใช้คำสั่ง sudo testdisk ไม่เช่นนั้นจะมองไม่เห็นฮาร์ตดิศในเครื่องครับ) เข้าสู่โปรแกรมตามภาพเลยครับ จากในภาพให้เลือก เลือก Create เพื่อสร้างlog file แล้ว Enter

2.จะเห็นฮาร์ตดิสในเครื่องทั้งลูกครับดังรูปด้านล่างครับ (กรณีที่ใช้แผ่น live cd หรือ live USB แล้วไม่ได้ใช้คำสั่ง sudo testdisk พอมาถึงตรงนี้จะมองไม่เห็นฮาร์ตดิสในเครื่องครับ) ให้เลือก Proceed ครับ แล้ว Enter

3.จากรูปด้านล่างผมเลือก Intel ครับ แล้ว Enter (ตอนทำผมเดาเอาครับใครเข้าใจตรงนี้รบกวนอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ)

4.จากรูปด้านล่างเลือก Analyse แล้ว Enter ครับ


5.จากรูปเลือก Quick Search แล้ว Enter น่าจะเป็นการค้นหาอย่างรวดเร็วครับ



6. จากรูปผมเลือก y แล้ว Enter ครับ จากนั้นจะเริ่มต้นสแกนหา Partition ในฮารต์ดิสครับ แต่การหาแบบนี้จะเจอไม่หมดครับโดยเฉพาะที่ลบไปนานแล้วครับ


7. หลังจากสแกนเรียบร้อยจะแสดงรายการ Partition ในเครื่องดังรูปครับ จากตรงนี้ผมกด Enter เลยครับ เพราะว่าผมไม่เข้าใจคำสั่งอื่นว่าทำอะไรครับจึงไม่ได้ใช้ ใครทราบอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ


8.จากขั้นตอนที่แล้วจะมาที่หน้านี้ดังรูป ปรากฎว่าของผมยังไม่พบ Partition ที่ต้องการกู้คืนมาผมเลยเลือก Deeper Search เพื่อค้นหาอย่างละเอียดครับ


9. จากนั้นโปรแกรมจะเริ่มค้นหา Partition ทั้งหมดในฮาร์ตดิส ทั้งที่ยังอยู่ดีและที่ถูกลบไปแล้วโดยใช้เวลาค่อนข้างนานมาก ของผมจะพบหลายรายการมาก(ข้อควรระวังคือ ต้องรอให้ค้นหาให้หมดก่อนจึงเริ่มดำเนินการขั้นต่อไปไม่เช่นนั้นจะเสียใจและ ต้องเริ่มต้นใหม่หมดครับ ครั้งแรก ผมใจร้อนเลย กด Stop หลังจากค้นหาไปแล้วเจอPartition ที่ลบไปแล้วเท่าที่เห็นในภาพ แล้วไปทำขั้นตอนต่อไปเลย ผลคือ คราวนี้ Partition อื่นที่ยังใช้ได้อยู่หายหมดเลยครับ แทบช๊อคตาย ต้องเริ่มใหม่หมดครับ ดังนั้นรอจนกว่าจะค้นหาครบ 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนนะครับ


10. หลังจากค้นหาเสร็จแล้วจะแสดงหน้านี้ตามรูป ผมเจ้าใจว่ามันแสดง Partition ที่ไม่สามารถกู้คืนได้ให้ทราบครับ ให้เลือก Continue แล้ว Enter เลยครับ


11.ผ่านจากขั้นตอนที่แล้วมาที่หน้านี้จะเป็นPartition ทั้งหมดที่สามารถกู้และเขียนลงในฮาร์ตดิสได้ครับให้เลือกกู้ Partition ที่ต้องการเลยครับ ตาม อ๊อฟชั่น ด้านล่างครับ มี *, P , L , E และ D โดย ดีฟอล ของโปรแกรมเป็น D ทั้งหมด ถ้าเลือกเป็น D หมายถึงลบ Partition นั้นทิ้งครับ วิธีการเลือกก็ให้ใช้ คีย์ ลูกศร ซ้าย/ขวาครับ หลังจากเลือกอ๊อฟชั่นใส่ Partition ที่ต้องการกู้เรียบร้อยแล้ว กด Enter เลยครับ


12. จากขั้นตอนที่แล้วโปรแกรมจะแสดง Partition ที่เราเลือกจะกู้ให้ดูเพื่อความแน่ใจอีกครั้งดังรูป จากตรงนี้ถ้าไม่แน่ใจสามารถกลับไปเลือกใหม่ได้ครับ ถ้าแน่ใจว่าใช้แล้ว เลือก Write แล้ว กด Enter เลยครับ


13. ต้องการเขียน Partition ที่เลือกเลยไม๊ครับ ถ้าใช้ Y เลยครับ


14. ไม่ถึงนาทีก็เรียบร้อยครับ reboot ดูเลยครับ


15. สรุป. สามารถกู้พาร์ทธิชั่นที่ลบไปแล้วคืนมาได้พร้อมงานทั้งหมดครับ และParttion ที่ลง Os ไว้โดยเฉพาะที่ลง UBUNTU ไว้สามารถ บู๊ตเข้าใช้งานได้ตามปกติครับ แต่ของ WIN Vista บู๊ตไปถึงหน้าลอ๊คอินเท่านั้น หลังจากใส่ pass เพื่อล๊อคอินแล้วปรากฎว่าเข้าหน้า เดสซ์ท็อป ไม่ได้ โปรแกรมรายงานว่า มีไฟล์อะไรบางอย่างหายไปแต่จำไม่ได้แล้วว่ามันคืออะไร จึงเข้าใช้งานไม่ได้ สงสัยอาจเลือก Partition ที่จะกู้ผิดในขั้นตอนเลือกในขั้นตอนที่ 11 ครับ แต่ไม่ได้สนใจแก้ไขแล้วครับเพราะปกติไม่ได้ใช้งาน Vista อยู่แล้ว จึงสำรองานใน Partition นั้นแล้วฟอร์แมตทิ้งถาวรครับ อิอิ..
ถูกผิดประการใดขออภัยด้วย เพราะมั่วล้วน ๆ ครับ

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิธีทำให้ UBUNTU มองเห็น RAM 4 G

เพื่อให้ UBUNTU สามารถมองเห็นแรม 4 G ให้ติดตั้งแพทเกจนี้
linux-generic-pae

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การติดตั้งปลั๊กอินมีเดียเพลเยอร์สำหรับ UBUNTU

ยังไม่เคยติดตั้งสักกะครั้งวันนี้ติดตั้ง UBUNTU 9.10 แล้วเล่นแผ่นหนัง DVD ไม่ได้สอบถามวิธีการติดตั้งจาก www'ubuntuclub.com คุณ chizu แนะนำให้ติดตั้งโดยใช้คำสั่งนี้ครับ
sudo apt-get install ubuntu-restricted-extras

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

การบอกเล่าในครั้งที่ 2 นี้ไม่อยากให้เว้นระยะเวลานานเพื่อเป็นการต่อเนื่องกับครั้งที่แล้ว ให้คนเลี้ยงชวนชมคิดว่าผมเป็นครูเกษตร(จริงๆก็ครูเกษตรครับ)หรือเป็นวิทยากร ที่กำลัง ถ่ายทอดความรู้และประการณ์สอนการเลี้ยงชวนชมให้นักเรียนฟังก็แล้วกัน ยังมิบังอาจสอนรู้แจ้งแล้วนะครับ บางครั้งอาจจะพูดซ้ำหรือวนไปมาบ้างก็ขออภัยด้วย
การเลี้ยงชวนชมผมอยากบอก ว่า เราอย่ามองเป็นธุรกิจมากนักให้เริ่มเลี้ยงด้วยความชอบความรักก่อน แล้วความสุขความเพลิดเพลินจะตามมา ถ้าเราเลี้ยงไม้ได้สวยงาม ความพูนใจและความหวงจะตามมาส่วนเรื่องขายไม้ก็เป็นเรื่องเล็กแล้วครับ ถ้าตั้งต้นด้วยการเลี้ยงเพื่อขายมักจะมีความเครียดวิตกกังวลว่าจะเลี้ยงสวย มั๊ย จะขายได้มั๊ย มีคู่แข่งมากหรือเปล่า ก็จะเป็นทุกข์ ให้คิดว่าขายได้เป็นค่าดินค่ากระถางและมีทุนไปซื้อมาเลี้ยงเพิ่มอีก ถ้าขายไม่ได้ก็เลี้ยงต่อๆไป ใครมีทุนน้อยให้ซื้อเมล็ดหรือต้นกล้าราคาถูกมาเลี้ยงอาศัยเวลาหน่อย ใครมีทุนมากก็ให้เรียนลัดซื้อต้นใหญ่ต้นสวยไปเลย ร่นเวลา 4-5 ปี เป็นต้นใหญ่ประจำสวน ซึ่งต้นเล็กจะตามกันไม่ค่อยทัน และก็ซื้อต้นเล็กมาเลี้ยงด้วยเพื่อทำจำนวนด้วย ผมเองก็ยังซื้อต้นเล็กมาแยกปลูกเองเลย
ต้นใหญ่ไว้โชว์ ขายต้นเล็กง่ายกว่าครับ ปัจจุบันต้นใหญ่ระดับ2-3หมื่นบาทแพงผมก็ยังซื้อ ถ้าเรามาเลี้ยงใหญ่สวย เรามีของดีมีชวนชมแสนสวย รับประกันว่าเดี๋ยวคนมีกะตังค์เขาจะมาซื้อเอง ถ้าเราไม่ตั้งราคาสูงจนเกินไปหรือตั้งราคาตามความรัก ความเสียดาย ต้องเขาใจด้วยว่าชวนชมเป็นไม้ดอกไม้ประดับเป็นอาหารตาอาหารใจไม่ใช่อาหารกาย คนมีตังค์เขาท้องอิ่มแล้ว อยากหาความสุขทางด้านใจบ้างก็ซื้อไปเลี้ยงฯ แต่ถ้าเป็นคนจนท้องยังหิวอยู่เขาคงไม่ซื้อชวนชมไปผัดกินแน่(ขมก็ขม) ถึงแม้เราจะขายต้นใหญ่ๆระดับสวยๆถูกๆแค่ 5000 บาท เขาคนจน 500 บาทเขายังไม่ซื้อเลยครับผม แต่ถ้าคนจนคนนั้นฉลาดที่หัวไวใจสู้จะผลิตชวนชมไว้ขายคนรวยต่อไป ผมยังคิดว่าคนมีเงินเขาซื้อชวนชมสวยๆไปเก็บไว้ ได้เปรียบคนขาย(เพราะชวนชมยิ่งโตยิ่งแพงไม่ตายง่ายเหมือนไม้ตัวอื่น ชวนชมต้องใช้เวลาเลี้ยงนานมาก) เราจึงเห็นว่าไม้สวยๆหายไปหมด เพชรบ้านนารุ่น ๑ - ๒ มีเป็นร้อยไปอยู่ที่ไหนกัน ? (ที่เห็นกันประจำก็มีของท่านนายพลที่เป็นดาราเนื้อหอมเห็นราคาทำให้คนเขามา เลี้ยงกัน มากขึ้นหรือไม่ก็ของผมบ้างเป็นบางครั้งบางคราว..ฮิฮิตัวประกอบ) มันไปอยู่บ้านคนมีตังค์ทั้งนั้นผมเห็นมาบ้างแล้วหรือไม่ก็ไปนอกครับ คนซื้อจะมีโอกาสได้เลือกไม้ฟอร์มสวยแจ๋วที่สุดชอบถูกใจที่สุด (แม้เราจะตั้งราคาไว้แพงแล้วในสายตาคนจนอย่างเรา..ก็โดนอยู่ดีเพราะคิดว่า ได้ราคาแล้ ว คิดในใจว่าเดี๋ยวเลี้ยงเอาใหม่ก็ได้วะ...ไม้มีโตมีตาย) ถ้าไม้ไม่ถูกใจเขาไม่ซื้อหรอก ส่วนเจ้าของไม้หรือเจ้าของสวนก็จะเหลือแต่ไม้เหลือเลือกไม่สวยแล้ว คิดว่าเดี๋ยวเลี้ยงไปนานๆก็คงสวยเอง ท่านอาจคิดผิดครับ ท่านต้องมีฝีมือในการตัดแต่งด้วย ทุกวันนี้โดยส่วนตัวผมเองประมาณ 1- 2 เดือน ผมจะเข้าไปที่สวนท่านนายพลอย่างน้อย 1 ครั้ง เจอท่านบ้าง ไม่เจอก็ไม่เป็นไร ผมไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองเสมอ ที่เรียกว่า " ครูพักลักจำ " ถ้าเจอท่านก็จะถามท่านตรงๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ เช่น ดิน ปุ๋ย การตัดราก ตัดกิ่ง วิธีการปลูก การจัดฟอร์ม โดยเฉพาะการเจริญเติบโต ผมจะถ่ายรูปไว้ทุกครั้ง เพชรบ้านนาต้นใหญ่ รุ่น 1 ของท่านผมก็ถ่ายรูปไว้ตั้งแต่ต้นละ 1 ล้านบาท จนปัจจุบันราคา 3 ล้านบาทแล้วครับ สิ่งที่เห็นมากที่สุดก็คือการเจริญเติบโต ไม้ของท่านโตเร็วมาก เราก็เลี้ยงไม้มาพร้อมๆกับท่านการดูแลเอาใจใส่ก็ไม่น้อยกว่ากันแน่นอน แต่ของเราโตช้ากว่า ผมจะบอกให้ว่าตอนนี้ผมเริ่มปฏิบัติตามมท่านแล้วคือ ในปีนี้ชวนชมกระถางขนาด 15 นิ้วขึ้นไปหรือต้นใหญ่ๆผมจะไม่รดน้ำเลยในฤดูฝนนี้ ให้อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดี่ยว ดูซิมันจะโตเร็วเหมือนของท่านหรือเปล่า ส่วนต้นเล็กๆรุ่นๆก็รดน้ำตอนค่ำทุกวันตามปกติ ผมสังเกตการเลี้ยงชวนชมของท่านมาหลายปีแล้ว เราดูแลต้นไม้เป็นอย่างดีรดน้ำพรวนดินใส่ปุ๋ย(ขี้ไก่)มาตลอด ดินท่านก็ใช้ดินใบก้ามปู กาบมะพร้าวสับเหมือนของเราและปุ๋ยขี้วัวธรรมดาผสมเข้ากัน ท่านจะนำต้นไม้ขึ้นมาแต่งรากตัดรากฝอยทิ้งไว้ก่อนอย่าง 1 สัปดาห์ ปลูกและจัดรากให้สวยได้ที่แล้วก็ใส่ดินผสมปลูกอัดให้แน่นมากๆ(ย้ำว่าแน่น มากๆๆๆ)แค่น ี้ก็จบกัน แล้วรดน้ำครั้งเดียวให้ชุ่มไหลออกก้นกระถางและจะไม่รดน้ำอีกเลย อีก 6 เดือนมาเปลี่ยนดินใหม่ครับ ไม่มีการพรวนดินเด็ดขาด ไม้ในสวนผมเริ่มสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง ในหน้าฝนชวนชมก็จะโตใบเขียวชอุ่มเต็มไปหมด พอฝนไม่ตกสัก 2 สัปดาห์ ใบก็จะเหลืองร่วงหมดเกือบทั้งสวน แทงช่อดอกเต็มไปหมด แต่ฝนนตกมาอีกช่อดอกก็หายไปอีกครั้งไม้จะโตใหม่อีกครั้ง สลับกันไปสลับกันมา ( ถ้าเป็นปีก่อนผมจะรดน้ำประครองไว้ให้ใบเขียวไม่ร่วงเลยแต่ไม้ก็ไม่โตมาก) ผมว่าแบบนี้ดีนะประหยัดน้ำด้วย(ใช้น้ำปะปา) วิธีของท่านน่าดีที่สุดในการเลี้ยงชวนชมสายพันธุ์ยักษ์ซาอุ เพราะจริงๆแล้วถิ่นกำเนิดเดิมของเขาก็คือทะเลทราย เขาเป็นราชินีไม้ดอกแห่งทะเลทรายอยู่แล้ว มีใครไปคอยรดน้ำให้เขามั๊ยครับ ต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติล้วนๆ(ฝนตกน้อยด้วย)เขายังอยู่และโตได้เลยและมา ปลูกบ้านเร าฝนก็ตกชุก ดินดีอุดมสมบูรณ์มากทำไมจะไม่โต เทคนิคน่าจะอยู่ตรง " เปลี่ยนดินทุกๆ 6 เดือนแน่ๆ " สังเกตเปรียบเทียบตอนที่ชวนชมมีใบมากๆถ้าใบไม่ร่วงมีปากใบมากจะคายน้ำมากต้น ก็จะนิ่ม ขาดน้ำเราจึงต้องรดน้ำช่วยเสมอ แต่ถ้าปล่อยให้ใบร่วงต้นแข็งโป๊กเลยใช่มั๊ยครับ พอดินแห้งรากขาดน้ำรากฝอย(รากขนอ่อน)ก็จะแห้งฝ่อไปเช่นกัน พอได้น้ำฝนรากฝอยก็แตกใหม่พร้อมใบอ่อนดูดน้ำดูดอาหารอย่างเต็มที่สะสมไว้ ใหม่อีกครั้ ง เพื่อฝนหยุดตกอีก ต้องตุนไว้ก่อนแม่สอนไว้ ธรรมชาติ ( รดน้ำ 3 เดือนยังสู้ฝนตกวันเดียวไม่ได้เลย) เหมือนเด็กวัดเลยครับ ท่านพลโทเฉลิมศักดิ์ วรกิจโภคาทร ท่านใจดีมากครับ ท่านอนุญาตให้นำชวนชมเพชรบ้านนา ถ้วยประธาน ต้น 2 ล้านบาทและชวนชมอีก 2 ต้นไปโชว์ในงานชลบุรีพฤกษานานาชาติ ครั้งที่ 1 ผมต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ (เดี๋ยวต้องไปส่งภาพต่อที่บ้านครับ)
ที่มา : http://www.meeboard.com/view.asp?user=baansaun&groupid=1&rid=3&qid=3

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สูตรกำจัดสตรูพืช

* 1 การทำสารไล่ศัตรูพืช (สุโตจู / EM 5)
ส่วนผสม
1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 2 ส่วน หรือ 2 แก้ว (แก้วละ 250 ซีซี)
2. น้ำสัมสายชู 5% 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
3. EM 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ
- นำกากน้ำตาลผสมน้ำเขย่าให้เข้ากัน ใส่เหล้าขาวและ น้ำส้มสายชู
- ใส่ EM คนให้เข้ากัน
- เขย่าภาชนะทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น เปิดฝาระบายก๊าซหลังจากเขย่า ครบกำหนดนำไป ใช้เพื่อขับไล่แมลง ป้องกันโรคพืชบางชนิด เช่น ใบหงิก ใบด่าง เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ ฯลฯ
วิธีใช้
- ใช้ 10 - 50 ซีซี (1-5 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร*
- ฉีดพ่น ให้ชุ่ม และทั่วถึง นอกและในทรงพุ่ม
- ใช้กับพืช ผัก ทุก 3 วัน สลับกับการพ่นจุลินทรีย์น้ำ
- พืชไร่ พืชสวน ทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นจุลินทรีย์น้ำ
- ผสมกากน้ำตาล หรือ นมสด ฯลฯ เป็นสารจับใบ
2. การทำสารไล่ศัตรูพืชสูตรเข้มข้น (ซุปเปอร์สุโตจู)
ส่วนผสม
1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 2 ส่วน หรือ 2 แก้ว
2. น้ำสัมสายชู 5% 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
3. EM 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว
วิธีทำ
-นำส่วนผสมทั้งหมดในภาชนะเขย่า หรือ คนให้เข้ากันดี
- ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 1 วัน
วิธีใช้
- ใช้ในกรณีที่ผสมสารไล่ศัตรูพืชธรรมดาไม่ทันกาล
- ใช้ 5-10 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง ฉีดพ่นปราบหนอน แมลงศัตรูพืช ที่ปราบได้ ยาก เช่น หนอน หลอดหอม หนอนชอนใบ เพลี้ยกระโดย เพลี้ยผลไม้
- กรณีมีพื้นที่เพาะปลูกมาก ใช้ 200 - 300 ซีซี หรือ 2 แก้ว ผสมน้ำสะอาด 100 - 200 ลิตร มากน้อยแล้วแต่ความเหมาะสม
- ผสมน้ำ 50 เท่า กำจัดเหา เห็บ หมัด โรคขี้เรือน ในสัตว์เลี้ยง ใช้ราดให้ทั่วตัวหมักทิ้งไว้ 20-? 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
- ใช้ป้องกันและแก้โรคในสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ตะพาบน้ำ ปลา ฯลฯ (ดูรายละเอียดการใช้ในการประมง)
หมายเหตุ
-หมั่นสังเกตชนิดของแมลงที่เป็นศรัตรูพืช หากการใช้สารไล่ หรือสารป้องกันศัตรูพืชได้ผลต่ำให้ ผสม ข่าแก่ หรือ บอระเพ็ด หรือตะไคร้หอม หรือ ดีปลี ฯลฯ อย่างใดอย่าง หนึ่ง หรือ 2 อย่าง โขลกละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ หรือนำแซ่ยาฉุนทิ้งไว้ 2 - 3 ชั่วโมง กรองเอาแต่ น้ำผสมลงในสารไล่แมลงที่ทำไว้จะช่วยไล่แมลงวัน มด ปลวก เพลี้ย ต่างๆ กำจัดหนอนที่กินพืชผัก
-พืชใบอ่อนผสมน้ำให้เจือจาง พืชใบแข็งผสมน้ำน้อยลงได้
- ใช้ร่วมกับฮอร์โมนยอดพืชได้ *
3. สูตรป้องกันเชื้อราหรือไร
ส่วนผสม
1. EM 1 ลิตร
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
3. ตระไคร้หอม 2 กก.
4. ข่าแก่ 2 กก.
5. ใบและเมล็ดสะเดา 2 กก.
วิธีทำ
- นำตะไคร้หอม ข่า สะเดา ปั่นหรือโขลกให้ละเอียด ใส่น้ำพอคั้นได้ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำ สมุนไพร ประมาณ 3 กก.
-นำ EM ผสมกากน้ำตาล ผสมในน้ำสมุนไพร
- ปิดฝาภาชนะหมักไว้ 3 วัน
- เก็บไว้นานประมาณ 3 เดือน
วิธีใช้ ใช้ 1/2 ลิตร ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีด พ่น ต้นไม้ทุก 3 วัน

EM และประโยชน์และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

คุณรู้จักการใช้ EM แล้วหรือยัง จากการที่ คุณอภิชาติ ดิลกโสภณ ได้เก็บเอามาเล่านั้น ผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้เกิดผลสำเร็จคือ จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการตามแนวพระราชดำริ เรื่องเศรษฐกิจ พอเพียง การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนในภาคการผลิตและอุตสาหกรม ดังนั้น การรู้จัก วิธีใช้ การปรับใช้ให้เข้าใจ ย่อมเกิดประโยชน์มหาศาล ขอเพียงมีความขยันหมั่นเพียร อดทนตั้งใจจริง ไม่พึ่งพาสารเคมี จะนำมาซึ่งสภาพชีวิตที่ดี สังคมและประเทศชาติก็ย่อมดี ขึ้นอย่างแน่นอน ทุกวันนี้กระแสและความตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งกำลังมาแรง ทุก ประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทย จึงหันมาใช้กรรมวิธีแบบเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติกัน แล้วอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย เนื่องจากใช้สารเคมีมานาน ๆนับสิบ ๆ ปี ทำให้จุลินทรีย์ ที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่อยู่ในดินและบนดินตายไปหมด เราต้องช่วยกันคืนจุลินทรีย์กลับบ้าน ซึ่งจะทำให้ดินที่เป็นรากฐานของชีวิตกลับเป็นดินมีชีวิตอีกครั้ง เพื่อผลิตพืชผลปลอดภัย เลี้ยง มนุษยชาติต่อไป การใช้เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรชีวภาพ หรือเกษตรธรรมชาติในเมืองไทย ขณะนี้มี อยู่หลายรูปแบบ หลายวิธี อาทิ การใช้ผักมาหมักกับกากน้ำตาล ได้น้ำสกัดชีวภาพ บางคนใช้สารเร่ง ซึ่งมีตั้งแต่ พด. 1 ถึง พด. 9 ของกรมพัฒนาที่ดินบางคนใช้ปุ๋ยสำเร็จรูป อัลจินัว ของ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางคนใช้แค่มูลสัตว์เท่านั้น เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีใช้ เวลา ต้นทุน และกรรมวิธีแตกต่างกันไป ในที่นี้ขอแนะนำการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้ เกษตรกร และผู้สนใจนำไปใช้เพราะราคาถูก ทำได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา ปลอดภัย ฯ ลฯ ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการพิสูจน์จากหลายสถาบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ได้ดี ไม่มีอันตรายกับคนหรือสัตว์ และเมื่อเรารู้จักการใช้จุลลินทรีย์ที่มี ประสิทธิภาพดีพอจะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
1. อีเอ็ม (**EM**) คืออะไร*
EMย่อมาจาก Efective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริ วกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวความคิดเรื่อง ?ดินมีชีวิต? ของท่านโมกิจิ โอ กะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลก จากนั้น ดร.อิหงะ เริ่มค้นคว้าทดลอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลปรากฏว่ากลุ่ม จุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่าน เป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10%
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10%
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80%จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุน หรือร่วมด้วย ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีจำนวนมาก กว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลาย ด้วยสารเคมีจนดินตายไป
จุลินทรีย์มี 2 ประเภท_
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Gacteria )
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria) จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้ จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรร อย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จี นัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความ ร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Aynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯ ลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กระดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน (Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มี ประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ หายใน ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวน จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือก เมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย
ลักษณะทั่วไปของ*EM
EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่ม ธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้
- ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
- ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และ สารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
- เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
- เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต
- EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
- เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย
*การดูแลเก็บรักษา*
1.หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท
2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
3. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ใน อากาศที่เป็นโทษ เข้าไปหะปน
4.การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะ เวลาที่เหมาะสม
* *ข้อสังเกตพิเศษ*
- หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
- กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัวเมื่อเขย่า ภาชนะฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
- เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟอง ขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
*2. การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ*
ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มี พิษภัย มีแต่ประโยชน์ ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้ การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ International Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Movement (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรัฐอเมริกา ซี่เป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ให้คำรับรองเมื่อ ค. ศ.1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100%
สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้ นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไป ใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้
1. ใช้กับพืชทุกชนิด
2. ใช้กับการปศุสัตว์
3. ใช้กับการประมง
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
*วัตถุประสงค์หลักของการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ** *
1. ลดต้นทุนการผลิต
2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม
3. ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี
4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี
5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคพัฒนาคุณภาพชีวิต
6. เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้
*3. จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ **EM มีประโยชน์อย่างไร*
การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึงการใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงาน ผลิต หรือ ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ
วิธีใช้และประโยชน์ EM สด
1. ใช้จุลินทรีย์น้ำกับพืช
-ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ ฉีด พ่นราด พืชต่างๆ ให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม
-พืช ผัก ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน
-ไม้ดอก ไม้ประดับ เดือนละ 1 ครั้ง การใช้จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรียวัตถุปกคลุม ด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง ฯลฯ เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป
2. ใช้ในการทำ EM ขยายจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้งและอื่นๆ (ดูรายละเอียดในการทำ)
3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)
-ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง
-ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาด กำจัดกลิ่น
-หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ฯลฯ
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
-ใส่ห้องน้ำ ห้องส้วม ใส่โถส้วมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์ละ แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม
-กำจัดกลิ่น ด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาล ในอัตรา ส่วน 1:1:1,000 (EM 1 ช้อน โต๊ะ : กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1 ลิตร ) ฉีด พ่น ทุก 3 วัน
-บำบัดน้ำเสีย 1:10,000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ :น้ำ 200 ลิตร
-ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร (ดูรายละเอียดในการทำ)
-แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ 5-7 วัน / ครั้ง ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำ
- ใช้ ฉีด พ่น หรือ ราดลงไปในแหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม. - กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำ แล้วแต่สภาพความแห้ง หรือ ความเหม็น โดย ผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วน
- ขยะแห้งประเภทกระดาษ ใบตอง เศษอาหารใช้ฉีดพ่น อัตรา EM ขยาย 1 ส่วนผสม น้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร
*วิธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย
* 1. ใช้กับพืชเหมือน EM สด
2. ใช้กับสัตว์
- ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน
- ผสมน้ำ 1 : 1,000 ล้างคอก
- กำจัดกลิ่น ผสมน้ำ ในอัตรา : 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟาง แห้ง เป็นอาหารสัตว์
3. ใช้ทำจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้ง เหมือนใช้ EM สด ? (ดูรายละเอียดในการทำ)
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด
*ประโยชน์ของจุลินทรีย์แห้ง*
1. _ใช้กับพืช
-รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรียวัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง
-คลุมดิน คือ โรยผิวดิน บนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้
-ใส่ถุงแช่น้ำอัตรา 1 กก. : น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไป รดพืช ผัก
2. _ใช้กับการประมง
-เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงน้ำ
-เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง
-ผสมอาหารสัตว์
3. _ใช้กับปศุสัตว์ ผสมอาหารให้สัตว์กิน
4. _ใช้กับสิ่งแวดล้อม
- เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับEM ขยาย
- เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย
- ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำจุลินทรีย์น้ำ
- ใช้ในขยะเปียกอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป
*4. วิธีการผลิต **EM ขยาย ปุ๋ยชีวภาพ ฮอร์โมน และสารไล่แมลงศัตรูพืช* *
4.1 **EM ขยาย*
คือการทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมากโดยการใช้ อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้
*_ส่วนผสม_** *
1. EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร
*_วิธีทำ*
- ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่เป็นขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน (ไม่ควร ใช้ภาชนะที่เป็นแก้วเพราะเมื่อจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะเกิดแก๊สทำให้แตกได้)
- ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด
- เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 ? 5 วัน
*_วิธีใช้_*
- นำไปใช้ได้เหมือน EM สด (ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่น เพื่อ ปรับอากาศ ไม่ต้องใส่กากน้ำตาล) และควรใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน
-เมื่อครบ 3 วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีก
*วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล ( 1 ช้อนโต๊ะ )*
- น้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าว น้ำชาวข้าว น้ำผลไม้ที่คั้นสดๆ อาทิ น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ไม่ ใส่สารกันบูด หรือน้ำตาลทรายแดงผสมน้ำข้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกาก น้ำตาล ปริมาณ 1/4 แก้ว
- นมข้นหวาน นมเปรี้ยว น้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปัสสาวะ 1/2 แก้ว
*4.2 จุลินทรีย์น้ำ* (ใช้ทันที) *
ส่วนผสม_*
1. EM 1 ช้อนโต๊ะหรือ 1 ส่วน
2. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ส่วน
3. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1,000 ส่วน
* _วิธีทำ_*
- นำ EM และกากน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน
-ในกรณีมีพื้นที่ต้องใช้ปุ๋ยน้ำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน
* _วิธีใช้_*
- ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สัปดาห์ละครั้ง ใบและดอกจะดกบาน ทน
- ไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ชมพู่ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ฉีดพ่น รด ราด เดือนละครั้ง รสชาติดี ผลโต
- วันอื่นๆ ให้รดน้ำพืช ปกติ
- ควรใช้ช่วงเย็นแสงแดดอ่อนจะมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น
-ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน
*การทำปุ๋ยหมัก หรือ จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ)*
การทำจุลินทรีย์แห้ง หมายถึง การนำเอา EM มาหมักกับอินทรียวัตถุ เป็นการ ขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนมากขึ้น แข็งแรงขึ้น และพักตัวอยู่ในอินทรี ยวัตถุ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ดินร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญเหมาะแก่การ เพาะปลูก นอกจากนี้ยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย
*_ส่วนผสม_*
1. มูลสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ นำมาผึ่งให้ แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
2. แกลบดิบ หรือ ฟางแห้ง หรือ หญ้าแห้ง หรือ ใบไม้แห้ หรือ ผักตบชวาแห้ง หรือ ขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น หรือ คาย ข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสม น้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน
*_วิธีทำ_*
- คลุกรำละเอียด กับมูลสัตว์แห้งที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วย กัน
- นำแกลบดิบ หรือวัสดุ ที่ใช้แทนตัดสั้นๆ จุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM + กาก น้ำตาล ไว้ ช้อนเอามา คลุกกับรำ และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้ว คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
- ความชื้นให้ได้ 40-50% ดูได้จากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มี น้ำไหลออกจากง่ามนิ้ว และแตกเมื่อคลายมือออกหรือเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
- นำส่วนผสมไปใส่กระสอบ ถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ ที่อากาศถ่ายเทได้ 3/4 ของกระสอบ ไม่ ต้องกดให้แน่น มัดปากกระสอบไว้พลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน วันที่ 2-3 จับกระสอบดูจะร้อน อุณหภูมิประมาณ 50 องศา 60 องศา วันที่ 4-5 จะค่อยๆ เย็น ลง จนอุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดู จะได้จุลินทรีย์แห้งร่วนนำไปใช้ได้
- หากไม่มีกระสอบ หรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้ว ให้นำไปกองบน กระสอบป่าน หรือฟาง แห้งที่ใช้รองพื้นหนาประมาณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบ หรือ สแลน กลับวันละ 1-2 ครั้ง ให้ อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติจุลินทรีย์แห้งร่วนดี เก็บใส่ถุงไว้ใช้
*ประโยชน์ของการกลับกองปุ๋ยหมัก*
1. เพื่อให้การหมักทั่วถึง
2. ทำให้แห้งเร็ว
3. ไม่จับเป็นก้อนแข็ง ง่ายต่อการนำไปใช้
*การเก็บรักษา*
เก็บจุลินทรีย์แห้งไว้ในที่ร่ม ไม่ให้โดนแดด หรือ ฝน หรือที่มีความชื้น เก็บ รักษาได้ประมาณ 1 ปี
วิธีใช้
* จุลินทรีย์แห้งที่หมักด้วย EM จะร่วน มีกลิ่นหอมเหมือนเชื้อ เห็ด
* ใช้ในการเตรียมดินปลูก พืช
- รองก้นหลุมปลูกประมาณ 2 กำมือ
- คลุกผสมดินในหลุมปลูก 2 กำมือ
- รองก้นแปลง (แหวะท้องหมู) ตารางเมตรละ 1 กำมือ
- หว่านในแปลงพืช หรือนาข้าว ตารางเมตรละ 1 กำมือ แล้วใช้ จุลินทรีย์น้ำฉีดพอชุ่ม
*ใช้หลังการเพาะปลูกแล้ว
- แปลงผักใส่ระหว่างแนวผัก
- ไม้ต้น ใส่ใต้ทรงพุ่ม รัศมีใบตารางเมตรละ 1 กำมือ
- ไม้กระถาง โรยในกระถาง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ฯ ลฯ
* ใช้ในการเลี้ยงสัตว์
- ผสมอาหารสัตว์ เช่น ไก่ หมู วัว ฯลฯ
- บำบัดน้ำ สร้างอาหารในน้ำ ในบ่อ ปลา กุ้ง ตะพาบน้ำ ฯลฯ
* ใช้กับสิ่งแวดล้อม
- ใช้บำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่น
*หมายเหตุ * ไม่ควรใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง สารเคมีทุกชนิด
การทำปุ๋ยเม็ด
1. นำปุ๋ยที่ผสมเสร็จแล้วไม่ต้องหมัก มาบดให้ละเอียด
2. นำแป้งเปียก มาผสมให้เข้ากัน
3. นำเข้าเครื่องอัดเม็ด
4. ผึ่งลมให้แห้ง เก็บใส่ถุง ภาชนะ หรือ นำไปใช้ได้
*การทำจุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง (การขยายจุลินทรีย์แห้ง)*
สามารถนำปุ๋ยแห้งมาขยายภายใน 1 วัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และประหยัดได้
*ส่วนผสม*
1. จุลินทรีย์แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
2. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น 1/2 ส่วน หรือ 1/2 กระสอบ
3. ฟาง หรือ หญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง ฯลฯ ตัดสั้นๆ 10 ถัง เตรียมไว้
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมในน้ำ 1 ถัง *ถ้าทำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน
*_วิธีทำ_*
-นำรำละเอียดผสมจุลินทรีย์แห้งให้เข้ากัน
- นำฟาง / ใบไม้แห้ง จุ่มลงในถังน้ำ บีบพอหมาด (เหมือนทำจุลินทรีย์ แห้งวางกองกับพื้นที่ปูลาดด้วยกระสอบหรือฟางแห้ง ประมาณ 3 นิ้ว
- นำส่วนผสมของรำกับจุลินทรีย์แห้งโรยให้ทั่ว ทำเป็นชั้นๆ จะใช้พื้นที่ กว้างยาวเท่าไรก็ได้ แต่ความสูงไม่เกิน 1 ฟุต หรือ 1 ศอก หรือไม่เกินหัวเข่า เสร็จแล้วเอา กระสอบ หรือสแลน หรือถุงปุ๋ย หรือ ใบตองแห้ง, ฟาง คลุมไว้
- หมักไว้ 18 ชั่วโมง กลับปุ๋ยข้างล่างขึ้นข้างบนให้อากาศผ่านได้ ทั่วถึง และให้แห้งง่าย คลุมทิ้งไว้อีก 6 ชั่วโมง จะได้จุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง (1 วัน) นำไปใช้ ได้
*_วิธีใช้_*
- ใช้เหมือนจุลินทรีย์แห้ง แต่จะประหยัด และลดต้นทุนได้มาก
- เก็บรักษาในที่ร่มไม่โดนแดดโดนฝนได้ ประมาณ 1 ปี
- ใช้ทำจุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง ขยายได้อีก (วิธีทำเหมือนเดิม) จนกว่าจะเบื่อทำ
*หมายเหตุ *
- พื้นที่ที่มีใบไม้แห้งกองอยู่มาก สามารถทำกับพื้นได้ โดยตัดหรือย่อยใบไม้ให้เล็กลง ใช้นำ ผสม EM + กากน้ำตาล ฉีด รด ให้ทั่ว (ความชื้นตามสูตร) นำรำผสมจุลินทรีย์แห้ง โรยให้ทั่วแล้ว คลุมไว้ กลับกองปุ๋ยทุกวันครบกำหนด นำไปใช้ได้
วัสดุที่ใช้แทนรำละเอียด
1. ฝุ่นซังข้าวโพด
2. มันสำปะหลังบด
3. กากมะพร้าวขูดคั้นน้ำแล้ว ผึ่งให้แห้ง
4. คายข้าว ฯลฯ
วัสดุที่ใช้แทนแกลบดิบ
1. ใบไม้แห้งทุกชนิด หญ้าแห้ง ผักตบชวาแห้ง ฯลฯ
2. ขี้เลื่อย
3. ขุยมะพร้าวแห้งด้านเปลือก
4. ฟางข้าว
5. ซังข้าวโพด

ปุ๋ยหมักชีวภาพคืออะไร มีวิธีการทำอย่างไร

ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. มูลสัตว์แห้งละเอียด 3 ส่วน
2. แกลบดำ 1 ส่วน
3. อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว และขุยมะพร้าว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน
4. รำละเอียด 1 ส่วน
5. น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน + น้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 100 ส่วน คนจนละลายเข้ากันดี
วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี
2. เอาส่วนผสมของน้ำสกัดชีวภาพน้ำตาลและอ้อย ใส่บัวราดบนกองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นเกินไป
3. หมักกองปุ๋ยหมักไว้ 4-5 วัน ก็นำไปใช้ได้
4. วิธีหมักทำได้ 2 วิธีคือ
4.1 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์ หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจต้องเอากระสอบที่คลุมออก แล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลง นำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป
4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่คลุกเข้ากันดีแล้ว ลงในกระสอบปุ๋ยไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้วไว้บนท่อนไม้หรือไม่กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ 5-7 วัน
จะได้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกับน้ำสกัดชีวภาพในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะกันเป็นก้อน ในระหว่างการหมักถ้าไม่เกิดความร้อนเลยแสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าเราได้ความชื้นสูงเกินไปจะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้นความชื่นที่ให้ต้องพอดีประมาณ 30% ปุ๋ยหมักชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม
วิธีใช้
1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดิน รองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผัก ประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม่ที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแนวทรงพุ่ม 1-2 กำมือ ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งใบไม้แห้งหรือฟาง แล้วรดน้ำสกัดชีวภาพให้ชุ่ม
4. ไม้ดอก ไม่ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมือ
หมายเหต ุ ปุ๋ยหมักชีวภาพไม่ใช่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก แต่เป็นหมักจุลินทรีย์ เมื่อใส่ลงดินที่มีความชื่นพอ เชื่อจุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำสกัดชีวภาพ จำทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ให้เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้ จึงไม่จำเป็นต้องให้ในปริมาณมากๆ และในดินต้องมีอินทรีย์วัตถุ พวกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง และใบไม้แห้งและมีความชื้นอย่างเพียงพอ เป็นต้น จึงจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ และบ่อยครั้งเท่าไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ท่านต้องให้ความสังเกตเอาเอง เพราะพืชแต่ละชนิด และในแต่ละพื้นที่มีการตอบสนองต่อปุ๋ยหมักชีวภาพไม่เหมือนกัน
การ นำปุ๋ยหมักไปใช้อย่างประหยัดและได้ผลอีกวิธีหนึ่งคือ ก่อนนำไปใช้ควรผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับปุ๋ย หรือปุ๋ยคอกเสียก่อน ในอัตราส่วนปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ส่วนต่อปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคือก 10 ส่วน คลุกให้เข้ากันดี แล้วนำไปใช้เช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก โดยวิธีนี้จะใช้มากเท่าไหร่ก็ไม่เป็นผลเสีย อย่าลืมด้วยว่าด้วยเทคนิคจุลินทรีย์เราไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ปริมาณมาก เช่นที่เราเคย ปฏิบัติมา ใช้เพียง 1 ใน 4 ส่วนก็พอแล้ว หรือขึ้นอยู่กับปริมาณอินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในดิน ถ้ามีอยู่มากเราก็ใส่แต่น้อย ถ้ามีอยู่น้อยเราก็ใส่มากหน่อยหรือบ่อยหน่อย

วิธีการทำปุ๋ยดินหมักชีวภาพสำหรับเพาะต้นกล้า

วัดุที่ใช้
1. ดินแห้งทุบให้ละเอียด ใช้ดินได้ทุกชนิด แต่ดินดำเชิงขาหรือดินขุยไผ่จะดี 5 ส่วน
2. ปุ๋ยคอกแห้งทุบละเอียด 2 ส่วน
3. แกลบดำ 2 ส่วน
4. รำละเอียด 1-2 ส่วน
5. ขุยมะพร้าวหรือขี้เค้กกากอ้อย 2 ส่วน
6. น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน + น้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 100 ส่วน คนให้เข้ากันดี
วัสดุทำ
1. ผสมวัสดุทั้งหมด คลุกเคล้าจนเข้ากันดี
2. ราดน้ำสกัดชีวภาพผสมลงบนกองดิน ผสมคลุกเคล้าจนได้ความชื่นพอหมาดๆ พอปั้นเป็นก้อนได้ไม่แฉะ
3. เกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ให้กองหนาประมาณ 1-2 ฝ่ามือ คลุมด้วยกระสอบป่านหมักไว้ 4-5 วัน นำไปใช้ได้
4. ปุ๋ยดินหมักชีวภาพที่ดีจะมีราสีขาวเกิดขึ้น มีกลิ่นหอม สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานๆ
วิธีใช้
1. ผสมปุ๋ยดินหมักชีวภาพกับดินแห้งทุบละเอียดและแกลบดำ อย่างละเท่าๆ กัน คลุกจนเข้ากันดี เพื่อนำไปกรอกถุงหรือถาดเพาะกล้า หรือนำไปใส่ในแปลงสำหรับเพาะกล้าจะช่วยให้ได้ต้นกล้าที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง
2. นำไปเติมในกระถางต้นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี กระถางละ 1-2 กำมือ

การผลิตน้ำสกัดชีวภาพ

น้ำสกัดชีวภาพ คือ น้ำที่ได้จากการหมักดองพืชอวบน้ำ เช่น ผัก ผลไม้ ด้วยน้ำตาลในสภาพไร้อากาศ น้ำที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์หลากหลายชนิด จุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกยีสต์ แบคทีเรียสร้างกรดเลกติก และพวกรา แบคทีเรียสังเคราะห์แสงก็เคยพบในน้ำสกัดชีวภาพ

วัสดุและอุปกรณ์
1. ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท จะเป็นถังพลาสติก ถังโลหะ หรือกระเบื้องเคลือบ หรือจะใช้ถุง พลาสติกก็ได้
2. น้ำตาลสามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด ถ้าได้กากน้ำตาลยิ่งดี เพราะมีราคาถูกและมีธาตุอาหารอื่นๆ ของจุลินทรีย์ นอกจากน้ำตาลอยู่ด้วย
3. พืชอวบน้ำทุกชนิด เช่น ผัก ผลไม้ ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้อวบน้ำที่สดไม่เน่าเปื่อย เช่น เปลือกแตงโม เปลือกสับปะรด เปลือกขนุน และเปลือกมะม่วง เป็นต้น
4. ของหนัก เช่น อิฐบล็อก หรือก้อนหิน
วิธีทำ
1. นำพืช ผัก ผลไม้ ลงผสมกับน้ำตาลในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตราน้ำตาล 1 ส่วนต่อพืช ผัก ผลไม้ 3 ส่วน คลุกให้เข้ากัน หรือถ้ามีปริมาณมากจะโรยทับสลับกันเป็นชั้นๆ ก็ได้
2. ใช้ของหนักวางทับบนผักที่หมัก เพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ระหว่างผัก ของหนักที่ใช้ทับควรมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักผัก วางทับไว้ 1 คืน ก็เอาออกได้
3. ปิดฝาภาชนะที่หมักให้สนิท ถ้าเป็นถึงพลาสติกก็มัดปากถุงพลาสติกให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปได้ เป็นการสร้างสภาพที่เหมาะสมใก้แก่จุลินทรีย์หมัดดองลงไปทำงาน หมักทิ้งไว้ 3-5 วัน จะเริ่มมีของเหลวสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่เกิดขึ้นจากการละลายตัวของน้ำตาล และน้ำเลี้ยงจากเซลล์ของพืชผัก น้ำตาลและน้ำเลี้ยงเป็นอาหารของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์หมักดองก็จะเพิ่มปริมาณมากมายพร้อมกับผลิตสารอินทรีย์หลากหลาย ชนิดดังกล่าวข้างต้น ของเหลวที่ได้เรียกว่า "น้ำสกัดชีวภาพ"
4. เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณมากพอประมาณ 10-10 วัน ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกบรรจุลงในภาชนะพลาสติกอย่ารีบถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออก เร็วเกินไป เพราะเราต้องกให้มีปริมาณจุลินทรีย์มากๆ เพิ่มเร่งกระบวนการหมัก น้ำสกัดชีวภาพที่ถ่ายออกมาใหม่ๆ กระบวนการหมักยังไม่สมบูรณ์จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น ต้องคอยเปิดฝากภาชนะบรรจุทุกวันจนกว่าจะหมดก๊าซ ปริมาณของน้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมักจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของผัก ผลไม่ที่ใช้หมัก ซึ่งจะมีน้ำอยู่ 95-98% สีของน้ำสกัดชีวภาพก็ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลที่ใช้หมัก ถ้าเป็นน้ำตาลฟอกขาวก็จะมีสีอ่อนถ้าเป็นกากน้ำตาบ น้ำสกัดชีวภาพจะเป็นสีน้ำตาลแก่
5. ควรเก็บถังหมักและน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกฝนและแสงแดดจัดๆ น้ำสกัดชีวภาพที่ผ่านการหมักสมบูรณ์แล้ว ถ้าปิดฝาสนิทสามารถเก็บไว้ได้หลายๆ เดือน
6. กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยบริเวณทรงพุ่มของต้นไม้ หรือจะคลุกกับดินหมักเอาไว้ในเป็นดินปลูกต้นไม้ก้ได้

หมายเหตุ : ในกรณีที่มีการหมักต่อเนื่องก็ไม่จำเป็นต้องเอากากออก สามารถใส่พืชผักลงไปเรื่อยๆ ก็ได้ หรือในกรณีที่หมักยังไม่เต็มถังก็สามารถเติมจนเต็มถังก็ได้ทุกครั้ง หลังจากเปิดถังต้องเปิดฝาหรือมัดถงให้แน่นเหมือนเดิม เพื่อป้องกันอากาศเข้ามากๆ จะมีจุลินทรีย์อื่นๆ ที่เราไม่ต้องการให้ลงไปทำให้เสียมีกลิ่นเหมือนเน่าได้ น้ำสกัดชีวภาพที่มีคุณภาพจะมีกลิ่นหมักดองและมีกลิ่นแอลกอฮอร์บ้าง มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาล และปริมาณผลไม้ที่หมัก ถ้าชิมดูน้ำสกัดชีวภาพจะมีรสเปรี้ยว
วิธีใช้ในพืช
1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพ กับน้ำในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 50-1,000 ส่วน รดต้นไม้หรือฉีดพ่น
2. เริ่มฉีดพ่นเมื่อเริ่มงอกก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวน และควรทำในตอนเช้า หรือหลังจากฝนตกหนัก
3. ควรให้อย่างสม่ำเสมอ และในดินต้องมีอินทรีย์วัตถุอย่างเพียงพอ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้งแห้ง ใบไม้แห้งหรือฟาง เป็นต้น
4. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด
5. น้ำสกัดชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดพืชก่อนนำไปเพาะปลูก จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์
ประโยชน์
ในน้ำสกัดชีวภาพ ประกอบด้วยสารอินทรีย์ตางๆ หลากหลายชนิด เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่างๆ เอนไซม์ บางชนิดจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นสารอินทรีย์ เป็นอาหารของจุลินทรีย์เอง และเป็นอาหารของต้นพืช ฮอร์โมนหลายชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อพืช ถ้าให้ในปริมาณเล็กน้อยแต่จะมีโทษถ้าให้ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไป ฉะนั้น ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพในพืช จำเป็นต้องให้ในอัตราเจือจาง สามารถอินทรีย์บางชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นเป็นสารที่เพิ่มความต้านทางต่อโรค แมลง และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน