วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การผลิตน้ำสกัดชีวภาพ

น้ำสกัดชีวภาพ คือ น้ำที่ได้จากการหมักดองพืชอวบน้ำ เช่น ผัก ผลไม้ ด้วยน้ำตาลในสภาพไร้อากาศ น้ำที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์หลากหลายชนิด จุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกยีสต์ แบคทีเรียสร้างกรดเลกติก และพวกรา แบคทีเรียสังเคราะห์แสงก็เคยพบในน้ำสกัดชีวภาพ

วัสดุและอุปกรณ์
1. ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท จะเป็นถังพลาสติก ถังโลหะ หรือกระเบื้องเคลือบ หรือจะใช้ถุง พลาสติกก็ได้
2. น้ำตาลสามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด ถ้าได้กากน้ำตาลยิ่งดี เพราะมีราคาถูกและมีธาตุอาหารอื่นๆ ของจุลินทรีย์ นอกจากน้ำตาลอยู่ด้วย
3. พืชอวบน้ำทุกชนิด เช่น ผัก ผลไม้ ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้อวบน้ำที่สดไม่เน่าเปื่อย เช่น เปลือกแตงโม เปลือกสับปะรด เปลือกขนุน และเปลือกมะม่วง เป็นต้น
4. ของหนัก เช่น อิฐบล็อก หรือก้อนหิน
วิธีทำ
1. นำพืช ผัก ผลไม้ ลงผสมกับน้ำตาลในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตราน้ำตาล 1 ส่วนต่อพืช ผัก ผลไม้ 3 ส่วน คลุกให้เข้ากัน หรือถ้ามีปริมาณมากจะโรยทับสลับกันเป็นชั้นๆ ก็ได้
2. ใช้ของหนักวางทับบนผักที่หมัก เพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ระหว่างผัก ของหนักที่ใช้ทับควรมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักผัก วางทับไว้ 1 คืน ก็เอาออกได้
3. ปิดฝาภาชนะที่หมักให้สนิท ถ้าเป็นถึงพลาสติกก็มัดปากถุงพลาสติกให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปได้ เป็นการสร้างสภาพที่เหมาะสมใก้แก่จุลินทรีย์หมัดดองลงไปทำงาน หมักทิ้งไว้ 3-5 วัน จะเริ่มมีของเหลวสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่เกิดขึ้นจากการละลายตัวของน้ำตาล และน้ำเลี้ยงจากเซลล์ของพืชผัก น้ำตาลและน้ำเลี้ยงเป็นอาหารของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์หมักดองก็จะเพิ่มปริมาณมากมายพร้อมกับผลิตสารอินทรีย์หลากหลาย ชนิดดังกล่าวข้างต้น ของเหลวที่ได้เรียกว่า "น้ำสกัดชีวภาพ"
4. เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณมากพอประมาณ 10-10 วัน ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกบรรจุลงในภาชนะพลาสติกอย่ารีบถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออก เร็วเกินไป เพราะเราต้องกให้มีปริมาณจุลินทรีย์มากๆ เพิ่มเร่งกระบวนการหมัก น้ำสกัดชีวภาพที่ถ่ายออกมาใหม่ๆ กระบวนการหมักยังไม่สมบูรณ์จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น ต้องคอยเปิดฝากภาชนะบรรจุทุกวันจนกว่าจะหมดก๊าซ ปริมาณของน้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมักจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของผัก ผลไม่ที่ใช้หมัก ซึ่งจะมีน้ำอยู่ 95-98% สีของน้ำสกัดชีวภาพก็ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลที่ใช้หมัก ถ้าเป็นน้ำตาลฟอกขาวก็จะมีสีอ่อนถ้าเป็นกากน้ำตาบ น้ำสกัดชีวภาพจะเป็นสีน้ำตาลแก่
5. ควรเก็บถังหมักและน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกฝนและแสงแดดจัดๆ น้ำสกัดชีวภาพที่ผ่านการหมักสมบูรณ์แล้ว ถ้าปิดฝาสนิทสามารถเก็บไว้ได้หลายๆ เดือน
6. กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยบริเวณทรงพุ่มของต้นไม้ หรือจะคลุกกับดินหมักเอาไว้ในเป็นดินปลูกต้นไม้ก้ได้

หมายเหตุ : ในกรณีที่มีการหมักต่อเนื่องก็ไม่จำเป็นต้องเอากากออก สามารถใส่พืชผักลงไปเรื่อยๆ ก็ได้ หรือในกรณีที่หมักยังไม่เต็มถังก็สามารถเติมจนเต็มถังก็ได้ทุกครั้ง หลังจากเปิดถังต้องเปิดฝาหรือมัดถงให้แน่นเหมือนเดิม เพื่อป้องกันอากาศเข้ามากๆ จะมีจุลินทรีย์อื่นๆ ที่เราไม่ต้องการให้ลงไปทำให้เสียมีกลิ่นเหมือนเน่าได้ น้ำสกัดชีวภาพที่มีคุณภาพจะมีกลิ่นหมักดองและมีกลิ่นแอลกอฮอร์บ้าง มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาล และปริมาณผลไม้ที่หมัก ถ้าชิมดูน้ำสกัดชีวภาพจะมีรสเปรี้ยว
วิธีใช้ในพืช
1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพ กับน้ำในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 50-1,000 ส่วน รดต้นไม้หรือฉีดพ่น
2. เริ่มฉีดพ่นเมื่อเริ่มงอกก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวน และควรทำในตอนเช้า หรือหลังจากฝนตกหนัก
3. ควรให้อย่างสม่ำเสมอ และในดินต้องมีอินทรีย์วัตถุอย่างเพียงพอ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้งแห้ง ใบไม้แห้งหรือฟาง เป็นต้น
4. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด
5. น้ำสกัดชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดพืชก่อนนำไปเพาะปลูก จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์
ประโยชน์
ในน้ำสกัดชีวภาพ ประกอบด้วยสารอินทรีย์ตางๆ หลากหลายชนิด เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่างๆ เอนไซม์ บางชนิดจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นสารอินทรีย์ เป็นอาหารของจุลินทรีย์เอง และเป็นอาหารของต้นพืช ฮอร์โมนหลายชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อพืช ถ้าให้ในปริมาณเล็กน้อยแต่จะมีโทษถ้าให้ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไป ฉะนั้น ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพในพืช จำเป็นต้องให้ในอัตราเจือจาง สามารถอินทรีย์บางชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นเป็นสารที่เพิ่มความต้านทางต่อโรค แมลง และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น