ธาตุแมกนีเซียม แมงกานีส และธาตุเหล็ก จัดอยู่ในประเภทธาตุอาหารที่พืชต้องการน้อย แต่จะขาดเสียเลยพืชก็จะไม่เจริญเติบโตได้อย่างปกติ
1.ธาตุแมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ในพืช ทำให้ใบมีสีเขียวเข้ม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของพืช หากขาดธาตุนี้แล้วจะแสดงออกที่ใบแก่บริเวณขอบเส้นใบจะมีสีเหลือง หรือมีแผลไหม้เป็นจุดแก้ไขโดยการใส่ปูนโดโลไมต์ อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ ทุก ๆ 4-5 ปี อาการขาดแมกนีเซียมจะหมดไป
2. ธาตุแมงกานีส เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิด หรือบางคนนิยมเรียกว่า น้ำย่อย หากขาดธาตุแมงกานีสแล้ว ใบส่วนกลางของต้นไม้จะเกิดเป็นแผลขึ้นระหว่างเส้นใบ แต่โดยธรรมชาติแล้วต้นพืชขาดธาตุแมงกานีส เนื่องจากดินส่วนใหญ่จะมี pH ต่ำกว่า 7 ซึ่งจะแสดงการขาดธาตุแมงกานีสก็ต่อเมื่อดินปลูกมี pH เกิน 7 ขึ้นไป หรือดินมีฤทธิ์เป็นด่างนั่งเอง แต่ถ้าหากเกิดการขาดธาตุนี้ขึ้นแก้ไขด้วยการใส่ แมงกานีสซัลเฟต ในอัตรา 1-5 กิโลกรัม ต่อไร่ อาการของการขาดธาตุมังกานีสก็จะหมดไป
3.ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟีลล์อีกธาตุหนึ่ง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการหายใจของพืชอีกด้วย การขาดธาตุเหล็กจะเกิดขึ้นในดินที่มีหินปูนเป็นองค์ประกอบคือ มีค่า pH เกิน 7.5 ขึ้นไป อาการที่พบ ใบและยอดอ่อนจะมีสีเหลือง แก้ไขได้โดยใส่เหล็กซัลเฟต อัตรา 2-6 กิโลกรัม ต่อไร่ อาการขาดธาตุเหล็กจะหมดไป ภายใน 1 สัปดาห์ ขอเพิ่มเติมอีก 2 ธาตุ คือ
4.สังกะสี เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิด แต่ต่างชนิดกับธาตุแมงกานีส เป็นส่วนประกอบของ ฮอร์โมน หรือ สารควบคุมการเจริญเติบโตของต้นพืชเป็นความหมายเดียวกัน การขาดธาตุสังกะสีจะพบว่า ใบอ่อนของพืชจะมีสีเหลืองซีดคล้ายกับการขาดธาตุเหล็ก ดินที่ใส่อินทรียวัตถุอย่างสม่ำเสมอหรือใส่หินฟอสเฟตมักจะไม่ขาดธาตุชนิดนี้
5. ธาตุโบรอน มีส่วนสำคัญในกระบวนการเคลื่อนย้ายน้ำตาลผ่านผนังเซลล์พืช ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แป้งและน้ำตาล พืชที่ขาดโบรอนส่วนยอดจะไม่พัฒนา ต้นจะเตี้ย มีข้อหรือปล้องสั้น ใบจะเขียวเข้มเปราะและฉีกขาดง่าย แก้ไขโดยฉีดพ่นด้วย
6. บอแรกซ์ ที่ระดับความเข้มข้น 0-5-1.0% ที่ใบ 2-3 ครั้ง หรือใส่ลงดิน อัตรา 1-3 กิโลกรัม ต่อไร่ อาการขาดโบรอนจะหมดไปในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น